There is so much about the so called Lèse majesté Law of Thailand. The claim on both Pro and Cons sides are pretty much in a mess. For those oppose would give argument that such law prevent criticized of royal family and violate human right by itself. Some may push further to change the constitution to rid of the Lèse majesté Law. But, what is it actually the Lèse majesté Law.
มันก็เป็นเรื่องเป็นราวได้มากมายกับกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย
ฝั่งหนุนและฝั่งต้านต่างก็ตีกันมั่วเป็นยุงตีกัน เหตุผลในฝั่งต้านก็มีว่ากฎหมายนี้ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และบางคนก็ไปไกลถึงขนาดให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเอากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพออกไป
ว่าแต่ว่า ไอ้กฏหมายนี้มันคืออะไรและมันอยู่ที่ไหน
Lèse majesté Law or Section 112 was in the Criminal Law not
in the Constitution. So from the start, it had nothing to do with Constitution
rewrite. And what actually it is in the Criminal Law.
กฏหมายที่เรียกกันว่ากฏหมายหมิ่นฯ
มันอยู่ในประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112
ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ
ดังนั้นไอ้บ้าที่ไหนบอกให้ไปแก้รัฐธรรมนู้บเพราะเหตุนี้ มันกำลังมั่วอยู่
Section
112
Whoever, defames, insults or threatens the King, the Queen,
the Heir-apparent or the Regent, shall be punished with imprisonment of three
to fifteen years.
มาตรา 112
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น
หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
The Section 112 is all about the Right of the Royal family
not to be defamed or insulted or threatens. So, was this right a privileged? We
can compare to the following section.
มาตรา 112 ที่ว่า มันก็คือการพิทักษ์สิทธิ์ของราชวงศ์มิให้ถูกหมิ่นประมาท ดูหมิ่น
หรือกล่าวข่มขู่อาฆาต แล้วมันเป็นสิทธิพิเศษตรงไหน
เมื่อเราเทียบกับความในมาตราล่างๆนี้
Section
133
Whoever,
defaming, insulting or threatening the Sovereign, Queen, Consort, Heir-apparent
of Head of Foreign State, shall be imprisoned as from one year to seven years
or fined as from two thousand to fourteen thousand Baht, or Both.
มาตรา 133
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี
ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
Section
134
Whoever,
defaming, insulting or threatening a foreign Representative accredited to the
Royal Court, shall be punished with imprisonment of six months to five years or
fine of one to ten thousand Baht, or both.
มาตรา 134
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
Section
326
Whoever,
imputes anything to the other person before a third person in a manner likely
to impair the reputation of such other person or to expose such other person to
be hated or scorned, is said to commit defamation. And shall be punished with
imprisonment not exceeding one year or fined not exceeding twenty thousand
Baht, or both.
มาตรา 326
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม
โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
As in 133 and 134 the protection of foreign state
representative or foreign royal family and in 326 the protection of civil
right, such insult or defamed or anyway destroy the reputation is prohibited.
The only difference is the weight of sentence. Basically, blaming the law for
giving privilege is pretty much non-sense. Yet, what is the real problem facing
in the Kingdom of Thailand.
จากความในมาตรา 133 และ 134 การปกป้องตัวแทนประเทศอื่น
หรือราชวงศ์ประเทศอื่น และในมาตรา 326 ที่ปกป้องสิทธิของประชาชนจากการดูหมิ่น
ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือทำลายภาพลักษณ์
ข้อต่างของกฏหมายเหล่านี้ก็คือน้ำหนักโทษ
และการกล่าวว่ากฏหมายนั้นให้อภิสิทธิ์มันก็ไม่ใช่ และ ดังนั้นแล้ว
ปัญหาจริงๆของประเทศไทยมันคืออะไรกันแน่
- In Thailand, Section 112 is abused and put to punish those that was not actually violated the law itself. In example, when we criticized using fact and evidence, it shouldn’t be account to anyways defaming or insulting. (Of cause, where is not private matter) We can critic those not following the Ethic of the King “Th:ทศพิศราชธรรม” and with evidence, that is not prohibited by Section 112 itself. We have the trouble on judging system and peer-pressure from those more Royal than Royalist. In example of Mr. Ampol case (AKA Ar Kong SMS) the accusation of Lèse majesté cause fear and none stand up for him in technical matter.
- ในประเทศไทย มาตรา 112 มีการถูกใช้ในทางที่ผิด และถ้าตีความกันตามตัวอักษร มันถึงกับละเมิดกฏหมายด้วยตัวเอง อาทิ ถ้าเราจะทำการวิจารณ์ใครด้วยข้อเท็จจริง และด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ มันย่อมไม่มีทางที่จะผิดกฏหมายฐานทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาท (แน่นอนว่าเรื่องที่วิจารณ์ต้องไม่ใช่เรื่องส่วนตัว) เราย่อมมีสิทธิ์ที่จะวิจารณ์เมื่อคนในราชวงศ์ปฏิบัติผิดจากหลักทศพิศราชธรรม และหลักจารีตในที่แจ้ง ซึ่งมันต้องไม่ถูกห้ามโดยมาตรา 112 แต่ทั้งนี้ เรามีปัญหาจากการกดดันระบบศาล มีปัญหาอคติกดดันทางสังคมจากกลุ่มผู้ที่เป็นกษัตริย์เสียยิ่งกว่ากษัตริย์ เช่นกรณี นายอำพล (อากง) ที่มีปัญหาคนกลัวที่จะเป็นพยานทางเทคนิคให้
- It also needs to point out that many of the 112 oppositors are simply don’t know how to criticized, they believe they can blame and make bullshit to anyone including the Royal family on anything without need of evidence. For example, case of Ms. Daranee (Da Torpedo), It is an act to violate human right on all whether they are royal or commoners.
- และมันก็มีประเด็นที่ฝั่งต่อต้าน มาตรา 112 ไม่รู้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์เอง คนกลุ่มนี้เชื่อว่าเขาสามารถพูดกล่าวด่าว่าอะไรๆต่อราชวงศ์ก็ได้โดยไม่ต้องมีหลักฐาน เช่นกรณีของ ดารณี หรือ ดา ตอร์ปิโด ซึ่งแม้เป็นคำกล่าวต่อบุคคลสามัญก็ยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ดี
The solution was never been easy since both side contribute to the conflict. One too extreme royalist and over use the Law more than what Law stated and the other over boarding other people right, both summing to this chaotic scenario around the Lèse majesté thing. Some might try to clarify the wording like extending Article 329 to cover 112 to control abuse and twist of word.
วิธีการแก้นั้นมันไม่ง่าย
เพราะปัญหามันมีเกิดจากทั้งสองด้าน
จากฝั่งที่เป็นกษัตริย์เสียยิ่งกว่ากษัตริย์ที่ใช้กฏหมายบังคับเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด
และก็จากอีกฝ่ายที่อยากได้สิทธิ์การละเมิดผู้อื่นจนตัวสั่น ทั้งสองฝ่ายนี้คือตัวปัญหารอบประเด็น
กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เรากล่าวถึง ในข้อเสนอให้แก้ ม 112 บางที ก็อาจให้ใช้คำอธิบายในมาตรา 329
ครอบคลุมถึง มาตรา 112 ก็ได้ เพื่อควบคุมการมั่วตีความเกินเหตุ
One another point to note on these Lèse majesté scheme,
should anyone be wonder that in Thailand we didn’t enact section 326 at the
same extend to 112. Rather than confined the royal right, why don’t we ask for
the treat of human right seriously as much as it should have been. And with the
problem of over using the 112, ain’t we supposes to use the Law accordingly to what
it stated. The problem is how we abuse it, not the Law itself.
ในที่สุดท้าย
ผมอยากบ่งชี้ปัญหาอีกอย่างในสังคมไทยที่เกี่ยวกับกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
พวกเราสงสัยกันหรือไม่ ว่าทำไมประเทศไทยเราไม่นำใช้กฏหมายอาญามาตรา 326
ในระดับเดียวกับมาตรา 112 ในขณะที่มีคนอยากจำกัดสิทธิ์ของราชวงศ์
ทำไมเราไม่เรียกร้องสิทธิพึงได้อย่าง “สิทธิมนุษยชน”
ที่เราไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างที่ควร และเกี่ยวกับปัญหาของมาตรา 112 ในเมื่อปัญหามันเกิดจากการใช้กฏหมายเกินกว่าที่กฏหมายเขียน
ทำไมเราไม่แก้ที่พฤติกรรมของคน ไปแก้ตัวอักษรทำไม
Reference:
Criminal Law: http://thailaws.com/law/t_laws/tlaw50001.pdf
Ethic of the King: http://th.wikipedia.org/wiki/ทศพิธราชธรรม
คดี นายอำพล ตั้งนพกุล (อากง SMS): http://en.wikipedia.org/wiki/Ampon_Tangnoppakul
คดี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด): http://downmerng.blogspot.com/2009/11/blog-post_8623.html
Case of Lèse majesté
for comparing to the Section 112: http://en.wikipedia.org/wiki/L%C3%A8se_majest%C3%A9_in_Thailand
ข้อบ่นอื่นๆ:
ในขณะที่ผมเขียนเพื่ออธิบายพฤติกรรมแห่งความผิดของการละเมิด
การบ่งชี้พฤติกรรมแห่งการละเมิดของพวกเกรียนเสื้อแดงกลับจะเป็นว่าทำให้ผมมีความผิดตาม
พรบ คอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ สรุปแล้ว ผมว่ากฏหมายของไทยนี่ไม่ได้เอื้อต่อเจ้า
แถมยังเป็นปัญหาต่อการแก้ต่างคำกล่าวของพวกด่าเจ้าเสียด้วยซ้ำ
ทำไมเราไม่เรียกร้องให้แก้ปัญหาตรงนี้กันมั่งฟะเนี่ย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น