หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชำแหละตาลุงก้องภพ (อีกแล้ว) พายุสุริยะ กับเฮอริเคน มันเกี่ยวกันยังไงฟระ!?!?




เมื่อไม่กี่วันมานี้มีประเด็นพายุเฮอริเคนแซนดี้เข้าถล่มที่อเมริกา และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ดร. ก้องภพ (อีกแล้ว) ก็ออกมากล่าวเรื่องความสัมพันธ์ของพายุเฮอริเคนกับ Solar Storm ให้คนได้ตื่นตระหนกเล่นกันอีกครา ว่าแต่ แล้วสองเรื่องนี้มันมีความสัมพันธ์กันจริงหรือไม่

จากข้อมูลของ ดร. ก้องภพ เขาอ้างการก่อกำลังของพายุเฮอริเคนแซนดี้เข้าพ้องช่วงเวลากับการเกิด Solar Activity ในช่วงวันที่ 26 ส่งกำลังมาให้ในวันที่ 29 ตุลาคม ซึ่ง ถ้าเราดูตามรูปของ Solar Activity ในภาพกว้างมันก็เป็นอย่างที่เห็นข้างล่าง ... เงียบ



ถ้าเราดูในแง่ความถี่ของ Peak ใหญ่จากรูป [1] เราก็คงขอกว่า ไอ้ช่วงเวลา 1 ปี เราก็คงต้องกลัวกับค่า การเกิด Activity ใหญ่ๆ เดือนละ 1-2 ครั้งตลอดปี และ Peak ย่ออยๆ อาจประมาณวันเว้นวัน  ความแม่นยำในการลากค่าความสัมพันธ์ของการเกิดพายุกับ Solar Activity ก็ไม่ต่างจากการทำนายครั้งก่อนๆเรื่องแผ่นดินไหวที่ผมเคยชำแหละไป [2]



ทีนี้ถ้าเรามาดูในงานวิจัยที่เป็นเรื่องเป็นราว ก็ปรากฏว่า ในงานวิจัยของ J. B. Elsner  และ T. H. Jagger ที่ทำการรวบรวมข้อมูลการเกิดพายุเฮอริเคนในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา Match เข้ากับ Cycle ของ Solar Activity [3] พวกเขากลับได้ข้อสรุปตรงข้ามกับดร ก้องภพ งานวิจัยของพวกเขากลับพบว่า ยิ่งมี Solar Activity มากเท่าไร โดยนับจากจำนวน Sun Spot การเกิด เฮอริเคนกลับยิ่งน้อยลง



สิ่งที่น่าสนใจคือ ในกราฟเล็ก b จำนวนความถี่ของการเกิดพายุเฮอริเคนในฝั่งแอตแลนติกตะวันตก (ใกล้สหรัฐอเมริกา) ลดลงเมื่อมี Solar Activity เพิ่มขึ้น 100 จุด การเกิดเฮอริเคนจะลดลงเป็นสัดส่วน 0.74 แต่ทั้งนี้ จำนวนเฮอริเคนกลับไปเพิ่มขึ้นในฝั่งแอตแลนติกตะวันออกแทน

ในบทความดังกล่าว ได้ให้ข้อเสนอถึงโมเดลการเกิดพายุไว้ว่า พายุจะก่อตัวจากความต่างศักย์เชิงอุณหภูมิของบรรยากาศด้านบนเทียบกับอุณหภูมิของพื้นผิวทะเล สิ่งที่ Solar Acitivity ส่งมาคือพลังงานที่จะดูดซับในบรรยากาศเบื้องบน ยิ่งมี Solar Activity มาก อุณหภูมิบรรยากาศเบื้องบนยิ่งสูงและความต่างศักย์ต่ออุณหภูมิด้านบนกับผิวทะเลยิ่งน้อยลงและทำให้อัตราความน่าจะเป็นที่จะเกิด เฮอริเคนลดน้อยลง

งานวิจัยของ J. B. Elsner  และ T. H. Jagger แม้จะมีการศึกษาเป็นหลักฐานขนาดนี้ ก็ยังมีข้อโต้แย้งถึงความเบี่ยงเบนทางสถิติในการจัดทำงานวิจัย และระดับความสัมพันธ์ของ Solar Activity ที่เป็นนัยสำคัญต่อการเกิดเฮอริเคน เพราะปัจจัยการเกิดเฮอริเคนไม่ใช่ปัจจัยเดี่ยว มันเป็นผลรวมที่รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำอุ่น ปรากฏการณ์ เอลนีโญ และ ลานีญาด้วย[4]  การแยกความสัมพันธ์ และบ่งชี้ขนาดผลกระทบของปัจจัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอันขาดไม่ได้ของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาแบบสังเกตเชิงเดี่ยวของ ดร. ก้องภพ และจัดทำความสัมพันธ์แบบมุมแคบ คัดเลือกเอาตามความรู้สึก ย่อมเป็นการตกสู่หลุมพรางของเหตุผลวิบัติในลักษณะ Post hoc ergo propter hoc  หรือที่แปลไทยง่ายๆว่า เพราะสิ่งนั้นบังเกิด สิ่งนี้จึงบังเกิด เอาโดยง่าย ครับ การลดลงของโจรสลัดเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ไม่เชื่อดูกราฟนี่เลย นี่ๆๆ


การบ้าน ที่อยากให้พวกเราขบคิดกัน แน่นอน ถ้าสือถึง ดร. ก้องภพ ได้ก็คงจะดีใหญ่ "ปัจจัย" จะเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งด้านการ "ส่ง" หรือ "ต้าน" มันก็ต้องมีโมเดลการทำงานเข้ามาเกี่ยว โมเดลของการเกิดพายุ ก็จะไม่พ้นกลไกที่ขับเคลื่อนผ่าน Heat Engine ที่มีการขนถ่ายความร้อนจาก Heat Souce ไปถึง Heat Sink ผมเป็นวิศวกร ท่าน ก้องภพ ก็เป็นวิศวกร การวิเคราะห์กลไกการทำงาน และวิเคราะห์ปัจจัยการส่งผลกระทบ ท่านก็น่าจะพอทำได้ ว่าการมีพลังงานเข้ามาที่ Heat Sink จะส่งผลต่อความต่างศักย์อย่างไร การที่พายุจะค่อยๆเร่งความเร็วขึ้นต้องอาศัยกลไกทางธรรมชาติเช่นภูมิประเทศที่ค่อนข้างเสถียรเข้ามาส่ง การเกิดการแปรปรวนของ Source พลังงาน จะทำให้เกิดผลต่อกระบวนการเร่งความเร็วนี้อย่างไร เช่นตัวอย่างของรูปข้างล่าง [5]



ผมคิดว่าการโยงอะไรเอาง่ายๆ แล้วคิดว่ามันสัมพันธ์กันโดยไม่ฉุกคิดถึงความรู้ทางเทอร์โมไดนามิกส์ที่ร่ำเรียนมา มันค่อนข้างจะน่าเศร้าสำหรับบุคลากรระดับหัวแถวของประเทศไทยนะครับ


อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น