หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อธิบาย ระบอบทักษิณ และปริศนาความยากลำบากในการล้มล้าง

เนื่องจากที่ผู้เขียน เห็นว่า ระบอบทักษิณ ที่มีการใช้อยู่มีลักษณะเป็นวาทกรรม การอธิบายระบอบนี้จากหลายๆแหล่ง ก็เหมือนมีความเยิ่นเย้อเขียนเอาจำนวนหัวข้อมากกว่านิยามมันออกมาเป็นรูปธรรม บทความนี้ เป็นการรวบรวมประเด็นที่ผมโพสอภิปรายใน Facebook ว่า ระบอบทักษิณ มันคืออะไร แล้วตัวตนที่แท้จริงที่ทำให้เราแก้มันไม่ได้ ดื้อ ทนทาน มันคืออะไร


Populism ประชานิยมเพื่อความนิยมแลกกับความยั่งยืน

ปรกติ ชาติ จะอยู่ได้ รายรับ รายจ่ายต้องสมดุล รัฐ ต้องทำการพัฒนาประเทศเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพการหารายได้ อาทิ การจัดการพื้นที่การเกษตร การพัฒนาบุคคลผ่านกระบวนการให้การศึกษา สร้างอาชีพ ระบบขนส่งมวลชน เมื่อประเทศมีรายได้มั่นคง ก็จะสามารถนำเงินภาษีรายได้ส่วนเพิ่มนี้ ไปปรับปรุงคุณภาพชีวิต ให้ความสะดวกสบายต่อประชาชน

แต่ ระบอบทักษิณ เอาตัวคะแนนเสียงเป็นตัวตั้ง และจัดนำเงินภาษีไปใช้เพื่อให้ความสะดวกสบายต่อประชาชน กลุ่มเป้าหมายฐานเสียง ส่วนต่างที่สำคัญคือ รัฐไม่ทำหน้าที่สร้างรายได้ รัฐใช้การแปรรูปแปรสัมปทานเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงิน แล้วเอาไปใช้ปรนเปรอกลุ่มเป้าหมายแทนจะนำมาใช้เป็นทุน

เราจะสังเกตว่า ระบอบทักษิณนี้ ต่อให้ไม่โกง ชาติก็ยังจะฉิบหาย เพราะตัวเป้าหมายมันเป็นเป้าเฉพาะหน้าหาฐานเสียง ไม่ขวนขวายหารายได้

ถ้าค้นตัวเลขดุลการค้า แม้ในสมัยทักษิณที่ GDP เฟื่องฟู แต่ยิ่งบริหาร ดุลการค้าเรายิ่งขาดดุล คุณจะแปลกใจว่า ในขณะที่พวกเราพูดๆกัน เรื่องโกงโน่นโกงนี่ การบริหารราชการในสมัย นางยกปู (2555 - 2556) เราขาดทุนรวม 1,400,000 ล้านบาท ในขณะที่ ช่วงสมัย มาร์ค (2551-2554) เราได้ดุลการค้า 500,000 ล้านบาท เด็ดที่สุด ถ้าเราไปดูปีรอยต่อ ระหว่าง พปช - ปชป และ ปชป - พท ปีรอยต่อ จะเห็นการหักมุมจากช่วงการได้ดุลการค้า เป็นการขาดดุล และต่อให้ย้อนไปในอดีตไกลกว่านั้น แม้แต่ตอน รบ ขิงแก่ ก่อนหน้าก็ขาดดุล ขิงแก่ได้ดุล พอกลายเป็น พปช ก็ ขาดดุล


ระบอบทักษิณ อาศัยเงินกู้ และการแปรสัมปทาน เอาเงินเหล่านี้ มาเปลี่ยนเป็น GDP เพื่อหลอกประชาชนว่า เศรษฐกิจยังดี เราจะเห็นได้จากหนี้ประชาชาติต่อหัวที่เพิ่มพูน เอามาแลกกับตัวเลข GDP



แม้ในสมัยทักษิณเอง ถ้า รมต คลัง ไม่ใช่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ผล มันก็ออกมาเป็นแบบในปีสุดท้ายที่ดันโยก สมคิดไปดูพาณิชย์ เศรษฐกิจในระบอบทักษิณนั้นไม่เสถียร ไม่ยั่งยืนเอามากๆเลยทีเดียว

แก้ความเหลื่อมล้ำด้วยการถมเงิน เงินหมด ความเหลื่อมล้ำก็กลับมา

อีกหนึ่งปัญหาของระบอบทักษิณ คือ ความเหลื่อมล้ำของรายได้ วิธีแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ง่ายๆคือเอาเงินภาษีเข้าไปอุดผ่านการจำนำข้าว กองทุนประชานิยมต่างๆ หรือเช็คช่วยชาติ (ใช่แล้ว ตามาร์คก็มีใช้)



ปัญหาคือ เงินที่ใส่เข้าไปถ้าใส่ไปเฉยๆมันอยู่ไม่ถาวร คุณใส่เงินไปอุด แน่นอน รายได้คนจนมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำน้อยลง แต่มันไม่ได้น้อยลงจริง เพราะ ผลิตภาพมันก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ไม่มีช่องทางการเกิดรายได้ถาวร เหมือนกับกรณีการแจกปลา กับสอนให้คนตกปลา เมื่อรัฐหาเงินไม่พอ ทุนหมด ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ก็จะย้อนกลับมาสู่คนจนอย่างรวดเร็ว การใส่เงินไปอุดช่องว่าง ถ้าจะใช้ ต้องใช้กับปัญหาเฉพาะหน้า เฉพาะฤดูกาล เท่านั้น แต่ถ้าเป็นปัญหาถาวร อย่างกรณีราคาข้าวในตลาดโลกที่มันต่ำ อันนี้ ต้องไม่เอาเงินไปอุด มันต้องไปหาทางสร้างรายได้เพิ่ม

สัมประสิทธิ์จีนี (อังกฤษ: Gini coefficient) เป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้หรือการกระจายความร่ำรวย เรามาดูกันว่า ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในไทย เป็นอย่างไร ในแต่ละรัฐบาล และเราอยู่ที่ไหนเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย

ที่มา: ChartsBin


ระบอบทักษิณแก้ยากเย็น เพราะ การนอกเรื่อง 

ระบอบทักษิณ หรือ ปัญหาเชิงโครงสร้างทางการเมืองของไทย จะแก้ได้ด้วยการพูดคุยถกเถียง แต่ คนไทยเรามีปัญหาเชิงตรรกะ ที่ทำให้การพูดคุยถกเถียง หาข้อสรุปได้ยาก นั่นก็คือ เราชอบนอกเรื่องนอกประเด็นไม่ถกให้จบไปทีละเรื่อง

การเฉไฉไปประเด็นอื่นนี้ คือ Red Herring ยิ่งในการถกเถียง มีประเด็นมากเท่าไร ก็ยิ่งเบี่ยงประเด็นง่ายเข้า สมมุติ เราถกเถียงกัน มี 2 ประเด็น ม็อบแดง กะม็อบเหลือง เวลาเราถกจะสรุปม็อบแดงได้ เสื้อแดงเขาก็จะแถไป คปปส ถ้ามี 4 ประเด็น A ม็อบแดง B ม็อบเหลือง C จำนำข้าว D GT200 ขณะถกเถียง ถ้า A จะแพ้ ฝั่ง แดง ก็จะหนีไป B แล้วตามด้วย D เพื่อถมประเด็น แล้วเหลืองก็ตอกกลับด้วย C ตรงนี้ สังเกตจะมีรูปแบบการแถได้คือ
ABCD, ABDC, ACBD, ACDB, ADBC, ADCB
BACD, BADC, BCAD, BCDA, BDAC, BDCA
CABD, CADB, CBAD, CBDA, CDAB, CDBA
DABC, DACB, DBAC, DBCA, DCAB, DCBA
ลำดับความสัมพันธ์ของรูปแบบการแถ จะเป็น Factorial ของ ประเด็น หรือ 1x2x3x...n เมื่อ n คือประเด็นที่มี

และถ้าเรามีประเด็น 60 ความเลวของอภิสิทธิ์ 67 ความเลวของทักษิณ วิธีการแถหลีกเลี่ยงจะมีมากถึง 3 x 10^213 วิธีทีเดียว

แต่ถ้าเราสรุปให้จบไปทีละเรื่อง อย่างสมมุติ ม็อบ คปปส ถ้าเราจะยอมรับว่า หลักอหิงสา เราต้องไปสู้ ไม่ไปขว้างแก็สน้ำตา กลับใส่ตำรวจ เราต้องไม่ลุแก่โทสะทุบทำลายเผารถตำรวจ และเราต้องไม่แถผิดเป็นถูก แกนนำ จะต้องทำมากกว่าแค่ประกาศหลักอหิงสา แค่ไม่ปลุกปั่นอันนี้ไม่พอ มันยังต้องป้องปรามไม่ให้ฝูงชนตนใช้ความรุนแรงที่เสียหายต่อชีวิตมนุษย์ในทุกวิถีทาง

ถ้าเราได้ข้อสรุป คปปส

ข้อสรุปนี้ก็จะนำไปสู่ มาตรฐานการสรุปความไม่เหมาะสมของม็อบเสื้อแดง แม้ว่าในขณะที่เราคุยเรื่องม็อบ คปปส เราจะไม่ยกประเด็นสิ่งที่เสื้อแดงทำมาแย้งเลยก็ตาม ถ้าเสื้อแดงเขาเห็นต่างจากข้อสรุปตอน คปปส นั่นคือเขาใช้ 2 มาตรฐาน

เห็นหรือไม่ว่า ขอแค่ คุยกันให้จบ แม้ทีละเรื่อง สรุปเรื่องเดียว กลับได้ข้อสรุป 2 เรื่อง

ตรงส่วนการนอกเรื่อง คนเสื้อแดง นอกเรื่องเก่งมาก แต่คนเสื้อเหลือง หรือ Non-แดง ก็นอกเรื่องเก่งเช่นกันปัญหาการนอกเรื่องนี้เป็นปัญหาร่วม ความดื้อด้านต่อการแก้ไขของระบอบทักษิณไม่ได้เกิดเพราะกลไกอะไรที่ซับซ้อนแต่เป็นนิสัยประจำถิ่นของประเทศไทยเราที่หลีกเลี่ยงการหาข้อสรุปด้วยการแถ

ถ้าเราแก้นิสัยการแถนอกเรื่อง อดทน คุยให้จบเป็นเรื่องๆได้ ไม่ไปเพิ่มประเด็นลากประเด็นหนี ปัญหาระบอบทักษิณ หรือแม้แต่ระบบอะไรก็แล้วแต่ มันก็หาข้อสรุปได้ทั้งนั้น



โดยสรุป
ตัวตนของระบอบทักษิณคือการจัด Priority ของรัฐเพื่อคะแนนเสียงระยะสั้น ยกระดับฐานะคนยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ง่ายๆด้วยการเอาเงินเข้าไปถม แทนที่จะใช้กลไกพัฒนาที่ยั่งยืน ระบอบทักษิณ เกิดขึ้นได้ ตัวหลัก แน่ละ คือทักษิณคนต้นคิด แต่ก็เพราะประชาชนคนไทยที่ติดนิสัยมองอะไรง่ายๆ ไม่มองยาวๆ ความพึงพอใจของเราที่ไม่พ้นปลายจมูกนี้เองที่ทำให้ระบอบทักษิณมันก่อตัวได้ 

ส่วนกลไกการล้างสมอง จริงๆมันเป็นการหลอกตัวเองของพวกเราเสียมากกว่า เพราะคนไทยเราไม่ยอมรับความผิดพลาด เราชอบแถเบี่ยงประเด็น ตัวระบอบทักษิณ ที่มันดื้อด้านอยู่ทน ปลุกปั่นอะไรง่าย จะไปว่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ล้างสมอง ของ ทรท พปช หรือ พท ฝ่ายเดียวมันไม่พอ นิสัยดื้อด้านต่อการยอมรับความผิดพลาด เป็นส่วนสำคัญ ที่การล้างสมองเป็นไปโดยง่าย เราฟัง สิ่งที่เราอยากฟัง ไม่ฟัง สิ่งที่เราไม่อยากฟัง และ เถียง เฉไฉข้างๆคูๆ ระบอบทักษิณนี้ มันจึงอยู่มาได้จนทุกวันนี้

2 ความคิดเห็น: