หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

สถานการณ์พลังงานของโลก (2008)

บทความนี้เป็นหนึ่งในบทความ Recycle จาก Oknation เพื่อไม่ให้ความรู้สูญหายไป จึงนำมาไว้ที่นี้

บทย่อ สถานการณ์พลังงานโลก : ประเทศจีนและอินเดีย กำลังเข้ามาเป็นผู้เล่นที่สำคัญในตลาดโลก ซึ่งหมายถึงอัตราการใช้พลังงานของโลกในภาพรวมที่จะยิ่งพุ่งสูง ในขณะที่สถานการณ์โดยรอบ ราคาพลังงานฟอสซิลมีความผันผวนอย่างรุนแรงจากภาวะสงคราม การเก็งกำไร และการกักตุนไว้ด้วยเหตุผลทางความมั่นคง


สถานการณ์พลังงานของโลก
เมื่อปี 2543 ผมยังเป็นนักศึกษาอยู่ ในเวลานั้น ผมเคยได้อ่านบทความ ประมาณการณ์เรื่องราคาพลังงาน รวมถึงปริมาณพลังงานสำรองของโลก โดยสมัยนั้นประมาณว่า ราคาพลังงาน อีก 10 ปีให้หลัง (อีก 3 ปีข้างหน้า ณ ปัจจุบัน) ราคาพลังงานจะเพิ่มขึ้น 30% ของ ณ เวลานั้น ซึ่งเป็นการประมาณการ จากค่าใช้จ่ายการขุดค้นซึ่งโอกาสที่เราจะทำการเจาะบ่อน้ำมันแบบต่อตรงจะไม่มีอีกต่อไป เราจะต้องมีการใช้เทคนิคขุดเจาะแบบข้อเลื้อยเข้าไปสูบน้ำมันค้างคานหิน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เราพบว่า ราคาพลังงาน ณ ปีนี้ ไม่ใช่แค่ถีบตัวขึ้น 30% แต่เป็นการเหวี่ยงตัวขึ้นกว่า 100% ของราคาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว เนื่องจาก ราคาพลังงาน ณ วันนี้ ไม่ได้เป็นไปตามหลักต้นทุนกำไร แต่เป็นไปตามกฏ Demand supply ของเงื่อนไขการตลาดและความมั่นคง

ประมาณการเติบโตของอุปทานพลังงานโลก


นภาพรวมโลกมีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นปีละ 6-7 % มาตลอดตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2513-2545 อย่างไรก็ตาม ช่วงทศวรรศ 2540-2550 มีปัจจัยการใช้พลังงาน เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากประเทศจีน ซึ่งมีอัตรา การเติบโต ของ GDP ถึง 6.2 ต่อปี และอินเดีย ซึ่งมีอัตราการเติบโตของ GDP สูงถึง 5.5 ต่อปี ตลอดช่วง 2002-2005 กลุ่มประเทศเหล่านี้ เรียกว่า กลุ่มประเทศธุรกิจใหม่ โดยมี สัดส่วนการใช้พลังงาน แสดงดังตารางข้างล่าง




หน่วยงาน US EIA ได้ประมาณไว้เมื่อปี 2004 ว่าราคาน้ำมันของโลก จะมีการปรับขยายขึ้นที่อัตราประมาณ 1% ทุกปี ในฐานะราคาฐาน อย่างไรก็ตาม ถ้าดูจากกราฟ จะเห็นอัตราประเมินของปี 2004 และ2005 มีอัตราฐานที่แตกต่างกันมากประมาณ 7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และยิ่งถ้าเทียบกับของปี 2006 จะพบว่าราคาน้ำมันมีการปรับตัวขึ้นถึง 15 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลทีเดียว ปัจจัยการขยายตัวของราคาพลังงานเกิดจาก

  1. การขยายกำลังการผลิตของ MENA (Middle East & North Africa) ไม่เพียงพอกับอุปทานการใช้น้ำมัน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจาก ภาวะสงครามและรวมไปถึงการตื่นตัวด้านทรัพยากรน้ำมันในตะวันออกกลางเอง ที่จะต้องมีการสำรองไว้ใช้เมื่อขาดแคลน (อเมริกาก็มีน้ำมันดิบสำรอง แต่ไม่ขุดขึ้นใช้ด้วยสาเหตุเดียวกัน)
  2. การเติบโตของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เช่น จีน และอินเดีย ซึ่งมีการนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก ทำให้ขาดสมดุลการผลิตและการบริโภค สิ่งนี้รวมถึงประเทศในกลุ่ม MENA ที่พยายามสร้างผลผลิตอื่นในเชิงอุตสาหกรรม ได้มีการประมาณว่าในปี 2030 ประเทศในกลุ่ม MENA จะมีการใช้น้ำมันเพิ่มจาก 2.9% เป็น 7.5 % ในปี 2030
  3. การเก็งกำไรของกลุ่มทุนต่างๆ รวมถึงการผูกขาดกลไกการค้าน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นผลลัพธ์ทั้งจากข้อ 1 และ 2 ทำให้อัตราการเติบโตของราคาพลังงานที่ผันผวนอยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
     กลไกการเก็งกำไรนี้เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลไม่อาจตรึงราคาน้ำมันได้ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราตรึงราคาน้ำมันไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลก บริษัทน้ำมันก็จะขายน้ำมันให้ต่างชาติ โดยเงินกองทุนน้ำมันที่นำไปตรึงราคา จะถูกดูดผ่านกลไกการขาย ทำให้เกิดการไหลของเม็ดเงินออกนอกประเทศ เช่นเดียวกับ กรณีวิกฤตฟองสบู่แตกที่รัฐบาลของพลเอก ชวลิต ตรึงราคาเงินบาท จนถูกดูดเม็ดเงินออกไปทำกำไร ซึ่งท้ายสุดประเทศไทยก็เกือบต้องล้มละลายไปครั้งหนึ่งแล้ว 

ในปี 2008 เมื่อการเก็งกำไรทำให้เกิดความผันผวนจนกระทบต่อกลไกตลาด ผสานกับการสูบทำกำไรอย่างไร้สามัญสำนึกของภาคเอกชนของสหรัฐ ระบบของราคาน้ำมันถึงพังครืนลง เพราะความสามารถในการผลิต (และใช้พลังงาน) ถูกทำลายลง สิ่งนี้ในแง่ของพลังงานโลกอาจ ช่วยในแง่ของการลดอุปทาน และยืดเวลาการหมดสิ้นของเชื้อเพลิิงโลก แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ทำให้การเติบโตของพลังงานทดแทนฝืดลงอย่างเห็นได้ชัด จากการชะลอของโครงการ E20 และ E85 รวมถึงการพัฒนาไบโอดีเซลเพื่อเป็นพลังงานทดแทน

แล้วพลังงานที่มีอยู่ในโลก ตามที่มีประมาณการ มีอยู่เท่าใด

Coal                                6,904,762 MTOE
Oil                                   1,357,143 MTOE
Gas                                    714,286 MTOE
Net                                  8,976,190 MTOE
Consumption                       11,904 MTOE/year
Supply                                        754 year

จากตารางนี้ถ้าคำนวณเอาง่ายๆ เห็นว่าการใช้พลังงานของโลกสามารถใช้ได้อีกถึง 754 ปี บางคนอาจบอกว่า ถ้าเช่นนั้นก็ไม่มีความจำเป็นอะไรต้องรีบพัฒนาพลังงานทดแทนในตอนนี้ แต่ว่า ค่าพลังงานตรงนี้เป็นค่าประมาณการที่รวมแหล่งพลังงานที่ยังค้นไม่พบเข้าไปด้วย พลังงานที่เราค้นพบ ณ ปัจจุบันมีประมาณ 1 ใน 3 ของตัวเลขดังกล่าว และตัวเลขการใช้งาน ก็ยังไม่รวมกับอัตราการเพิ่มของการใช้พลังงาน ซึ่ง มีถึง 187 MTOE ต่อปี หมายความว่า ตัวเลขจริงๆ โลกเรามีศัยกภาพพลังงานฟอสซิลอยู่เพียง 250 ปี และถ้าเราค้นหาแหล่งพลังงานเสริมอีก 2 ใน 3 ไม่เจอ ตัวเลข Supply ก็จะหดเหลือแค่เกือบ 130 ปี 

ในเมื่อพลังงานก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น มันไม่เป็นไปตามหลัก Demand-supply มันเป็นเรื่องการตลาด และเป็นเรื่องความมั่นคง ประเทศที่มีพลังงานฟอสซิลต่างก็จะกักน้ำมันไว้และใช้พลังงานจาก ประเทศที่ไม่มีการคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ เช่นประเทศไทย โดยการลงทุนสร้างโรงงาน ที่ต่างประเทศตอนนี้ ญี่ปุ่นที่ตั้งโรงงานในไทยก็คือ เขาใช้ก๊าซธรรมชาติของเรา ต่อชีวิตประเทศเขาทางอ้อมนั่นเอง 

พลังงานนิวเคลียร์ เอกสิทธิ์ค้าพลังงานของประเทศที่พัฒนาแล้ว

พลังงานนิวเคลียร์ที่มีอยู่ในอเมริกาประเทศเดียว มียูเรเนียมเทียบเท่า 60 ล้าน MTOE สามารถให้พลังงานกับโลกได้ 500 ปี อย่างไรก็ตาม พลังงานนิวเคลียร์อยู่ในมือไม่กี่ประเทศเท่านั้น แถมถ้าดูอย่างตัวอย่างประเทศอิหร่านที่พยายามพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์จนถูก Boycott ในขณะนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า พลังงานนิวเคลียร์เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของประเทศพัฒนาแล้วที่จะทำการทดลอง พัฒนา ถ้าเราจะหวังกับพลังงานชนิดนี้ เราก็คงต้องซื้อเทคโนโลยีนี้มา (ในรูปที่เรียกว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยี) 


สถานการณ์พลังงานโลกเทียบกับความพร้อมของประเทศไทย
เราคนไทยต้องยอมรับกับตัวเองว่า ในขณะที่โลกกำลังเคลื่อนไหวขนานใหญ่เพื่อรับกับวิกฤตการณ์พลังงาน ประเทศไทย อยู่ในระดับล้าหลังมาก เราไม่มีงบผูกพันในการลงทุนเพื่อการวิจัยด้านพลังงาน จะมีก็เพียงงบประมาณรายปี ทั้งๆที่ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานจะเลี้ยงตัวเองได้แค่ 10 กว่าปีเท่านั้น (http://www.oknation.net/blog/whatsoevermization/2007/05/02/entry-1) ถ้าวันหนึ่งจะมีคนถามขึ้นมาว่า ประเทศไทยจะรับมือกับสถานการณ์พลังงานของโลกที่เปลี่ยนไปได้ทันหรือไม่? ผม คงไม่กล้าตอบ เพราะกลัวคำตอบจะมีแต่ความมืดมนต่ออนาคตที่เห็นขอบเหวอยู่รางๆครับ

อ้างอิง
Energy Information Administration (US EIA) "International Energy Outlook 2005" July 2005 URL:http://www.eia.doe.gov 
Florida power and light compady "Soaring fuel costs force FPL to seek 2006 fuel adjustment" URL:http://www.fpl.com
http://wuphys.wustl.edu/~mco//Phys171/FossilFuels/files/L7%20Energy%20Trends.ppt








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น