หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ปัญหา รูโหว่่โอโซน (OZONE HOLE) และขยะเทคโนโลยีในไทย

บทความนี้เป็นหนึ่งในบทความ Recycle จาก Oknation เพื่อไม่ให้ความรู้สูญหายไป จึงนำมาไว้ที่นี้


ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ในโลกให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกเรือนกระจกกันมาก และด้วยเหตุผลดังกล่าวก็มีการรณรงค์ใช้สินค้าที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง โดยนัยว่าถ้ามีประสิทธิภาพสูงก็จะมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงน้อยลง ช่วยลดปัญหาภาวะโลกเรือนกระจก หากทว่า การรณรงค์ดังกล่าว ก็เกิดผลทางลบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีปัญหายิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน หรืออาจมากกว่า

ปัญหาการใช้สาร ODs (Ozone Depletion Substances) เช่นสาร CFC (Chloro-Fluoro-Carbon) และสารทำความเย็นในตระกูล HCFC (Hydro-Chloro-Fluoro-Carbon) ของประเทศไทยยังดำเนินการช้ากว่าแผนการลดการใช้สาร ODs ตามข้อตกลงอนุสัญญาเวียนนา พิธีสาร Montreal ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2531 มีแผนที่จะเลิกการใช้สาร CFC ในปี 2539 และเลิกการใช้สาร HCFC ในปี 2573 

ประเทศไทย เพิ่งประกาศยกเลิกการใช้สาร CFC ได้ในปี 2548 ช้ากว่ากำหนดการถึง 9 ปี ขณะนี้ประเทศไทยได้กำหนดใช้สาร HCFC-22 ที่มีอันตรายต่อชั้นบรรยากาศน้อยกว่าสาร CFC-12 แต่ เทียบกับประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งสามารถเลิกใช้สาร CFC ได้ในปี 2538 และแทบจะไม่มีการใช้สาร HCFC แล้วในปัจจุบัน โดยหันมาใช้สารในกลุ่ม HFC (Hydro-Fluoro-Carbon) ทดแทน เช่นสาร HFC134a, HFC407c หรือ HFC404a เป็นต้น

ทำไมสารในกลุ่ม HCFC ถึงยังขายได้?

จุดสำคัญของสาร CFC และ HCFC คือสมบัติการเปลี่ยนสถานะเพื่อดูดซับและคายความร้อน ถ้าเปรียบเทียบสาร HCFC เช่น HCFC-22 กับสาร HFC เช่น HFC-407c จะพบว่าประสิทธิภาพส่วนต่างจะอยู่ที่ 20% หรือในกรณีเทียบกับน้ำยาแอร์ HFC-134a ที่มีสมบัติการระบายความร้อนที่เท่ากัน แต่ความซับซ้อนของเครื่องจักรนั้น เครื่องทำความเย็นที่ใช้น้ำยาแอร์ HFC-134a มักจะมีราคาที่สูงกว่าเครื่องทำความเย็นที่ใช้น้ำยาแอร์ HCFC-22 ประมาณ 1.5 ถึง 2 เท่าตัว

ในประเทศไทย มีบริษัทขนาดเล็กที่รับผลิตเครื่อง Chiller ใช้ R-22 ได้ที่ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับเครื่อง Chiller น้ำเข้าจากญี่ปุ่น ที่ใช้น้ำยาแอร์ R-407c ด้วยราคาที่ต่างกัน 3 เท่า

ราจะได้รับผลกระทบอะไรกับการที่รัฐยังอนุญาตให้ใช้สารในกลุ่ม HCFC
สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในกรณีที่ประเทศไทยยังชักช้าอยู่เช่นนี้ คือ การที่ประเทศไทยจะกลายเป็นถังขยะ รองรับเครื่องจักรและเทคโนโลยี ที่พ้นสภาพจากประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ และ เมื่อสนธิสัญญาข้อบังคับงวดเข้ามา ประเทศไทยย่อมจะได้รับแรงกดดันจากต่างชาติ ผ่านกระบวนการต่างๆเช่น มาตรฐาน ISO 14000 ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมในประเทศยุโรปหรืออเมริกา เริ่มร้องขอและกำหนดเป็นข้อบังคับใช้ให้ผู้ผลิตสินค้าส่งป้อนให้บริษัทเขาต้องมี หรือการบีบบังคับผ่านกระบวนการ CDM (Clean Development Mechanism) ซึ่งในที่สุดท้ายจริงๆแล้ว ผู้เขียนก็ยังมองไม่เห็นว่า ขยะเทคโนโลยีเหล่านี้ เราจะกำจัดออกจากประเทศเราได้อย่างไร

 ในปัจจุบันแอร์บ้านต่างๆเกือบทั้งหมดยังใช้สารทำความเย็น HCFC-22 เป็นหลัก สำหรับผู้เขียนที่ทำงานเป็นวิศวกรโรงงาน พอซื้อเครื่องแอร์ หรือเครื่อง Chiller ก็จะได้ Spec เครื่องจักรประสิทธิภาพสูง ที่ใช้น้ำยา HCFC-22 มาก่อน ผมเองเชื่อว่า ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเรา ยังเชื่องช้ากับสภาวการณ์ของโลกอย่างนี้ อนาคตไทยที่จะกลายเป็นถังขยะโลกคงไม่ไกลเกินเอื้อม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น