ผมมีเรื่องอยากจะเขียนให้เต็มไปหมดแต่เวลาก็ไม่ค่อยอำนวยสักเท่าไรเพราะงานประจำรัดติ้ว แต่งวดนี้มีเรื่องข้อสงสัยในกระทู้หว้ากอว่าชาวนาไทยทำนาไปทำไม ทำแล้วก็ต้องผลาญเงินภาษีไปโบ๊ะราคาข้าว โบ๊ะแล้วโบ๊ะอีก ดังนั้น ถ้าเรามาดูกันจริงๆจังๆว่า ชาวนาจะทำนากันไปทำไมถ้ามันขาดทุนกันได้ตลอด
โครงสร้างราคาข้าว
จากข้อมูลรายงาน “การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ ในปีการผลิต 2551/52 - 2554/55” ของศูนย์พันธุ์ข้าวสุรินทร์ [1] พบว่า โครงสร้างต้นทุนข้าว จะมีประมาณดังต่อไปนี้
ค่าใช้จ่ายต่อปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ในภาพรวมก็จะอยู่ในช่วง 3500 – 4000 บาท ต่อไร่ เมื่อเราคิดถึง Yield ของข้าวต่อไร่ ในแต่ละปี ซึ่งจากตารางข้างต้น ตัวอย่างปี 2554จะอยู่ที่ 364 กิโลกรัมต่อไร่ เราจะคำนวณออกมาเป็นต้นทุนข้าวเปลือกต่อกิโลกรัมได้ตามข้างล่าง ผู้อ่านสามารถหา Yield แต่ละปีได้โดยเอา บาทต่อไร่ หารด้วย บาทต่อกิโลกรัมข้าวเปลือกกันเอาเองนะครับ
ราคาขายข้าวเปลือกหอมมะลิ (ขาวดอกมะลิ 105) จากราคาเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ 15,000 บาทต่อตันข้าวตามราคาโรงสี หรือ 15 บาท ต่อกิโลกรัม [2] ส่วนต้นทุนของชาวนา อยู่ที่ 10.4 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2554 เป็นค่ากินค่าอยู่ของชาวนา เราจะมาว่ากันทีหลังถึงเรื่องรายได้ของชาวนาทีหลัง ตอนนี้เราพักไปดูต้นทุนของโรงสีกันก่อน ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า การสีข้าวเปลือก 1 ตัน จะได้ข้าวสารประมาณ 460 กก ส่วนอื่นๆที่ได้ คือ ปลายข้าวหัก รำข้าว และ แกลบ โดยข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ เคยทำวิเคราะห์สัดส่วนผลผลิตไว้ในปี 2539 ดังต่อไปนี้ [3]
การสีข้าว จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ 1,129 บาทต่อตัน คิดจากต้นทุนค่าสี 7% [4] แต่ถ้าจะไล่ไปจนจบกระบวนการ มีการจัดส่ง บรรจุเป็นหีบห่อพร้อมขาย ข้อมูลจากกระทู้ในเวบเกษตรพอเพียง[5] มีกระทู้ที่แตกค่าใช้จ่ายออกมาได้ค่อนข้างละเอียด โดยเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลแล้ว ค่าใช้จ่ายการสีข้าวที่ 1,000 บาทก็นับว่าตรงกับข้อมูลจากรายงานของ กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 จึงใช้ข้อมูลจากกระทู้ในเวบเกษตรพอเพียง[5]เป็นฐาน ได้ผลมาดังต่อไปนี้
ต้นทุนการแปรรูปพร้อมเป็นบรรจุภัณฑ์ คิดเป็นค่าใช้จ่าย 2,294 บาทต่อตันข้าวเปลือก ส่วนรายได้ จะเป็นส่วนต่างของผลผลิต ซึ่งเราจะมาดูราคาขายของผลผลิตแต่ละอย่างของการสีข้าวกัน ดังนี้[6]
เราจะเห็นได้ว่า ราคาขายข้าวหอมมะลิของเราที่ค่อนข้างสูง จะต้องถัวไปกับราคาผลิตภัณฑ์ส่วนอื่นๆด้วยจึงจะเป็นโครงสร้างต้นทุนข้าวที่แท้จริง เมื่อวิเคราะห์โดยสัดส่วน แล้ว ต้นทุนผลิตภัณฑ์ข้าวของเรา จะมีต้นทุน และ กำไร จากส่วนของชาวนา และ โรงสี ดังต่อไปนี้
รายได้ทำกินของชาวนา
ส่วนต่างของมูลค่า ที่น่าสนใจ ส่วนของโรงสีที่ได้มูลค่าส่วนเพิ่มจากกำไรมีเพียง 6% และสมมุติเชื่อว่าต้นทุนของโรงสีน้อยกว่านั้นสักกึ่งหนึ่ง มูลค่าส่วนเพิ่มตรงกำไร ก็จะขยายมาที่ 12% ในราคาข้าว 32 บาท นั่นก็เป็นกำไรเพียง 2-4 บาทจากโรงสี แต่ส่วนมูลค่าเพิ่มจากกำไร 8 บาท หรือ 25% ของมูลค่า มาจากชาวนา
ทีนี้ ราคาขายข้าว ของชาวนา จะสร้างรายได้ให้ชาวนาได้เท่าไร ก็ต้องมาดูเรื่องพื้นที่ทำกินกันว่า ด้วยขนาดของพื้นที่ทำกิน (ไร่) ชาวนาจะมีรายได้เท่าไร ถ้าทำการเกษตร 3 รอบต่อปี โดยสัดส่วนแล้วชาวนา 25.5% จะมีที่ทำกิน ไม่เกิน 10 ไร่ ชาวนา 39.2% มีพื้นที่ทำกิน 10 -20 ไร่ ชาวนา 17.7% มีพื้นที่ทำกิน 20-30 ไร่ และ 9.8% มีพื้นที่ทำกิน 30-40 ไร่ ที่เหลือ 7.8% คือมีพื้นที่ทำกิน 40 ไร่ขึ้นไป[1] ซึ่งโครงสร้างต้นทุนกำไรของแต่ละขนาดพื้นที่ทำกิน จะได้ออกมาประมาณนี้
พื้นที่ทำกินยิ่งน้อย กำไรต่อรอบการเพาะปลูกก็น้อยโดยสัดส่วน แม้ว่าในแง่เปอร์เซนต์สัดส่วนกำไรจะเป็นสัดส่วนเดียวกัน แต่ผลกระทบต่อรายได้ต่อครอบครัว พอไม่พอ มันอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าเราดูจากตารางข้างล่าง ชาวนาที่มีพื้นที่ทำกิน 10 ไร มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยเพียง 4,223 บาท แน่นอนว่าข้าวที่เพาะปลูกก็ต้องเก็บไว้กินเองด้วย เงินก็จะน้อยกว่านั้น แต่ในอีกด้าน ชาวนาที่เช่าที่ปลูกไร่ถึง 40 ไร่ รายได้ต่อเดือนจะอยู่ที่ 16,891 บาทต่อเดือน รายได้นี้ อาจมากขึ้นได้ถึง 23,000 กว่าบาท ถ้าเป็นที่ของตัวเอง
ปัญหาการชดเชยราคา หรือการจำนำข้าว
การชดเชยราคาข้าวของรัฐ คิดราคาจำนำประมาณ 20,000 บาทต่อตันข้าวเปลือกสูงกว่าราคาตลาด 5,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก [7] หลักๆก็คือการช่วยชาวนาที่มีพื้นที่ทำกินน้อยเพียง 10 ไร่ ให้มีฐานรายได้สูงพอจะอยู่ทั้งครอบครัว แต่เงินชดเชยนี้ ก็ต้องให้กับชาวนาที่มีที่ดินทำกินมากพอ นี่จึงอาจเป็นเหตุผลว่าทำไม พ่อค้า ไปปลูกข้าวแล้วรวยทุกคน เพราะขอแค่รวบรวมพื้นที่ได้มากพอ การปลูกข้าว จะได้อานิสงค์จากภาษีของรัฐเกิดเป็นกำไรอย่างมากมายมหาศาล
ขนาดทางเศรษฐกิจ ปัจจัยชี้ขาดของภาวะยากจนของชาวนา
จากตรงนี้ เราน่าจะเห็นถึงความไม่ยุติธรรมในความยุติธรรมที่ต้องผลาญเงินมหาศาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 25% มันเป็นความยุติธรรมถ้าเรามองว่าถ้าจะให้เงินชดเชยก็ต้องให้แบบฝนตกทั่วฟ้า รายได้ต่อผลผลิตจะได้เท่าเทียมกัน แต่ไม่ยุติธรรมกับผู้เสียภาษีที่เพื่อช่วยเกษตรกร 25% แต่ถูกชักเงินภาษีไปล้างผลาญเกินกว่าที่ควรจะเป็นถึง 3 เท่าตัว
การลดการกดขี่ของพ่อค้าคนกลาง อาจช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร แต่ปัญหาที่ใหญ่จริงๆมันมาจากโครงสร้างที่ทำกิน ชาวนาที่มีขนาดที่ทำกิน 10 ไร่ อาจได้เงินเพิ่ม 900 บาทต่อเดือนเทียบเท่าถ้ารีดเม็ดเงินออกจากพ่อค้าคนกลางในส่วนความไม่เป็นธรรม สมมุติว่ามีการกดราคารับซื้อถูกกดลงไปจากราคาของโรงสีสัก 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก แต่ถึงกระนั้น ข้อเท็จจริงก็คือ พื้นที่ทำกินของเขา ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ความต้องการพื้นฐานรายได้ ถ้าเราเชื่อตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ความต้องการรายได้ต่อเดือนอย่างน้อยของเกษตรกรก็ควรอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 8,000 บาทต่อเดือน ซึ่งกลุ่มผู้มีขนาดที่ทำกิน 10 ไร่ ถ้าไม่มีการหว่านเงินชดเชยจากภาครัฐ รายได้เขาก็อยู่แค่ช่วง 5,000 บาทต่อเดือน
แนวทางการแก้ปัญหา
การแก้ไขปัญหาระยะยาวจะต้องมีการจัดการโครงสร้างเชิงสังคมกันขนาดใหญ่ เช่นอาจต้องจัดหางานอื่นๆเข้ามาทดแทนให้ชาวนาสัก 10% ที่มีพื้นที่ทำกินไม่ถึง 10 ไร่ อาจโอนให้เขาไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม แล้วชาวนาที่เหลือรับช่วงพื้นที่ทำกินเพิ่มแทน ปัญหาราคาข้าวก็จะแก้ไปได้แบบถาวร หรืออาจปรับโอนชาวนาบางส่วน ไปทำอาชีพเกษตรอื่นๆที่มีผลตอบแทนต่อพื้นที่สูงกว่านี้ และ พออยู่ได้ในพื้นที่ทำกินแค่ 10 ไร่เป็นต้น แต่ถ้าทำกันอย่างนี้ต่อไป เราก็จะมีการ Siphon เงินจากกระเป๋าประชาชนไปอย่างสูญเปล่าเพื่อเลี้ยงคนจำนวนน้อยอย่างไร้ที่สิ้นสุด
อ้างอิง
[4] รายงาน อุตสาหกรรมแปรรูปข้าว ของกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา2
ชื่อตารางที่ 2 ผิดค่ะ (ภาพตารางที่2) ต้องใส่ชื่อภาพว่า ราคาขายข้าวเปลือก ไม่ใช่ต้นทุนข้าวเปลือกนะคะ
ตอบลบ(ไม่งั้นคนอ่านเร็วๆจะงงค่ะ)
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ
ตอบลบอืมม์ มันจะว่าต้นทุนก็ไม่ใช่ ราคาขายก็ไม่เชิง ควรเรียกว่า ราคาขายข้าวเปลือกที่เหมาะสมกับราคาขายปลีกข้าวสินะ
ว้า มันจะแก้ยังไงดีละเนี่ย
อยากได้ข้อมูล รายงาน อุตสาหกรรมแปรรูปข้าว ของกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา2 ส่งให้หน่อยได้ไหมคะ ขอถามอีกเรื่อง ถ้าเป็นช้าวพันธุ์อื่นเช่นข้าวขาว 5% ต้นทุนที่โรงสีจะต่างกันไหมคะ
ตอบลบที่อีเมล vivawawee@gmail.com
ตอบลบหลังย้ายบ้านมา พวกเอกสารที่เป็น Hard Copy คงหาเจอยากละครับ เพราะเขียนตัวนี้ไว้หลายปีแล้ว ส่วนต้นทุนที่โรงสีไม่ต่างกันในเชิงตัวเงิน
ตอบลบผมมารีวิวดูใหม่ ถ้าเอาเฉพาะต้นทุนโรงสี ผมคิดว่าเอกสารตัวนี้น่าจะใช้แทนได้ และดีกว่าเอกสารตัวที่ผมใช้เมื่อปี 2555 ด้วยซ้ำครับ เพราะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ
http://library.cmu.ac.th/faculty/econ/Exer751409/2556/Exer2556_no18