ตัวเลขจำนำข้าว เจ๊งกี่ล้านยังไม่มีการแสดงตัวเลขที่มากันชัดๆ ที่แน่ๆ ไงๆก็เจ๊ง ดังนั้น ในฐานะสลิ่มที่ดี เรามาแกะตัวเลขกันให้ดูว่า จำนำข้าว จนถึงตอนนี้ ภาษีพวกเรา ถูกถลุงไปแล้วกี่ล้าน
การคำนวณการขาดทุนของข้าว ต่อตันนั้น ค่อนข้างจะง่าย เพราะเรามีตัวเลขอัตรารับจำนำข้าว ตัวเลข Yield และราคาขายข้าวของสมาคมโรงสีข้าวอยู่แล้ว
สำหรับกรณีข้าวหอมมะลิข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า ที่ราคาข้าวหอมมะลิปัจจุบัน ราคา 33 บาทต่อกิโล เราคูณเข้ากับตัวเลข Yield การสี เท่ากับ 1 ตันข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาข้าวเปลือกมันควรอยู่ที่ 15180 บาทต่อตันเท่านั้น ส่วนปลายข้าว รำ และแกลบ นั่นเป็นสิ่งที่รัฐจ่ายเป็นค่าจ้างสีโรงสี เท่ากับ ด้วยราคารับจำนำข้าว 20,000 บาท รัฐขาดทุนไป 4820 บาท หรือ 24% ของทุกบาทที่ใส่เข้าไปในโครงการ แต่ทีนี้ ข้าวชนิดอื่นๆล่ะ โครงสร้างต้นทุนมันควรเป็นอย่างไร เรามาดูข้าวปทุมกันบ้าง
ข้าวปทุมนี้ ด้วยอัตราจำนำ รัฐจะขาดทุนน้อยกว่านิดนึง ขาดแค่ 21% ต่อทุกบาทที่ลงไปกับการจำนำข้าว ตรงนี้ เราอาจบอกได้ว่า การจำนำข้าว มันจะขาดทุนกันแถวๆ 21 – 24% เฉพาะจากมูลค่าส่วนต่างที่จ่ายกับราคาท้องตลาด
ในภาคปฏิบัติ ข้าวที่รัฐบาลขาย ยังมีโดนกดราคาอีก โดยข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ รัฐขายในราคาขาดทุน โดนรุมกดราคา จากตันละ 32000 เหลือตันละ 28000 บาท ตรงนี้ ถ้าเราเอามาเข้าสมการของเรา การขาดทุน ก็จะเพิ่มขึ้นมาตามข้างล่างนี้
นั่นจะเท่ากับว่า ทุก 1 บาทของเงินภาษีที่ใช้จำนำข้าว การขาดทุนจะอยู่ในช่วง 25-35% (สมมุติว่าในบางกรณี รัฐอาจถูกกดราคาแค่ตันละ 2,000 บาท) และจากตัวเลขการใช้งบประมาณในการจำนำข้าว 500,000 ล้านบาท บวกกับการเอาเงินที่ขายข้าวได้มาหมุนอีก 114,000 ล้านบาท เงินจำนวน 614,000 จะมียอดการขาดทุนอยู่ในช่วง 155,000 – 218,000 ล้านบาท จนถึง เดือน มิถุนายน 2556 นี้
แถมว่า การจำนำข้าวนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายการเช่นโกดัง ค่าตรวจคุณภาพ การเสื่อมมูลค่า ค่าแปรรูปบรรจุถุงเพิ่มได้อีก
ขนาดยังไม่พูดเรื่องโกง มันยังเจ๊งกันแสนๆล้านเลยนะครับ ถ้านับเรื่องโกง เงินไปไม่ถึง ประชาชนด้วย มันจะฉิบหายขนาดไหนกันเนี่ย
อ้างอิง
2. ราคาข้าว
3. ราคารำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น