ผมเองเขียนบทความเรื่องราวต่างๆรอบตัวมากมาย แต่ไอ้เริ่องทางวิศวกรรมที่ต้องใช้นี่ไม่เขียนเอาเลย ไอ้บทความตรงนี้ ที่ต้องเขียนก็มีที่มาจากวิดสิวะเกรียนรุ่นหลังๆไม่เข้าใจความหมายของสมการ และคอยแต่จะต้องลอกเอาสมการนู้นนี้นั้นมาใช้จากตำรา ไม่ก็ต้องไล่เปิดตารางหาค่า ถพ. ค่า ความหนืด ค่าสัมประสิทธิ์สารพัดต่างๆ ไปจนอ่านกราฟจากตำรามาใช้ พอสภาวะของระบบเปลี่ยนทีก็ต้องมานั่งเปิดตำราคำนวณใหม่กันที ซึ่งมันเป็นเรื่องเสียเวลา ไหนๆจะต้องเขียนตำราแล้ว ก็เขียนมันเป็นบทความไปด้วยให้มันรู้แล้วรู้รอดไป เพราะชักจะเบื่อกับบทความทางการเมียในบล็อกของตัวเองอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน บทความนี้ เขียนด้วยภาษาต่างดาว คุณไม่ควรอ่าน ถ้าคุณไม่อยากพบกับสาระชวนปวดหัว แต่ถ้าคุณเป็นวิดสิวะเกรียน...ถึงคุณไม่อ่าน คุณก็ได้ผ่านไอ้ที่ผมเขียนไว้ไปหมดแล้วในชั้นเรียน แค่คุณลืมมันเท่านั้นเอง
สูตร หรือ สมการคืออะไร
สูตร หรือสมการ ในทางวิทยาศาสตร์ มันคือคำอธิบายพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทางเคมี ฟิสิกส์ หรือชีววิทยาด้วยภาษาคณิตศาสตร์ ในทางวิศวกรรม เกือบร้อยทั้งร้อยจะวนอยู่กับการสร้างความสัมพันธ์จากสิ่งที่ตรวจวัดมาได้ ให้เข้ากับสูตรพื้นฐาน เพื่อจะเอามาใช้งานง่ายๆ โดยเฉพาะในกรณีที่โลกเรามันไม่ได้เป็นอุดมคติอย่างที่เราเรียนในชั่วโมงฟิสิกส์ ม. ปลาย
เราอาจเคยเรียนมาว่า สมการก๊าซอุดมคติ PV
= RT ความสัมพันธ์ของ ปริมาตรจำเพาะ –
แรงดัน – อุณหภูมิ ในโลกความเป็นจริงมันไม่ตรงๆแบบ PV
= RT เพราะก๊าซจริงๆไม่ได้มีเฉพาะแรงแวนเดอวาลล์ แต่ครั้นจะไปหาความสัมพันธ์ให้มันละเอียดคำนวณยากๆ ใส่แรงต่างไปให้ครบ สมการก็ยาวเกินจะใช้งาน ดังนั้น เราก็ทำการสร้างสมการความสัมพันธ์ขึ้นมา เพื่ออธิบายระบบจำเพาะของก๊าซเป็นชนิดๆ เท่าที่จำเป็นต้องใช้ไป เช่นสมการ Redlich-Kwong
ก็เป็นลักษณะสมการที่สร้างมาเพื่อแสดงความสัมพันธ์ f(P,V,T) ในลักษณะ โพลีโนเมียล
การสร้างสมการด้วย MS-Solver
ในการสร้างสมการ ยุคปัจจุบัน MS-Excel
เวลาพล็อตกราฟ 2 ตัวแปรจะมีฟังก์ชั่นการสร้างความสัมพันธ์ และแสดงสมการให้ (รุ่นอาจารย์ของผมแกต้องเขียนโปรแกรมเพื่อทำ trial
and error สร้างสมการสักตัวหนึ่ง ยุคเทคโนโลยีนี่มันดีจริงๆ) แต่มันก็จำกัดแค่สมการ Polynomial
สมการ Logarithmic และ สมการ Exponential
รูปแบบโดดๆ ซึ่งมันก็อาจไม่ดีเท่าไรนัก โดยเฉพาะค่าสัมประสิทธิ์ที่ให้จะมีแค่ถึงทศนิยมลำดับที่ 4
ซึ่งอาจไม่ละเอียดพอเมื่อเอามาพล็อตใช้ แต่ Excel มีเครื่องมือที่ใช้สร้างสมการอย่างทรงประสิทธิภาพสูงกว่า โดยการใช้ MS-Solver ซึ่งเป็นเครื่องมือการทำ Numerical
Analysis ทำ Trial
and error หาตัวแปรในสมการ
เราสามารถติดตั้ง MS-Solver ได้ โดยไปที่ ส่วนเมนูของ Excel กดเครื่องหมาย Office
(ตัว icon
กลมๆ ที่คุณกดเข้าไปเพื่อดูไฟล์เก่าๆว่าเปิดอะไรไว้บ้างนั่นแหละ) ไปที่ Excel
Options แล้วไปที่ Add-Ins คุณจะหา MS-Solver
เจอในนั้น กดติดตั้งมันซะ แล้วมาดูต่อกัน
การตั้งโจทย์
Solver ทำงานโดยการสุ่มเปลี่ยนค่าตัวแปร (By Changing Cells) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเซลล์เป้าหมาย (Target
Cell) ออกมาเป็นค่า Max Min หรือ เท่ากับค่าใดๆค่าหนึ่ง โจทย์ จะต้องผูกสูตรความสัมพันธ์จากตัวแปรไปถึงเซลล์เป้าหมาย ในตัวอย่างตารางข้างล่าง หัวคอลัมน์ A คือ อุณหภูมิ หัวคอลัมน์ B คือ ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนของอากาศ หัวคอลัมน์ C คือสมการที่เราจะใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิ กับ สัมประสิทธิ์การนำความร้อน โดยผูกสูตรในรูป Y
= a + bX
- · ค่า a และ b คือสัมประสิทธิ์ของสมการอยู่ในเซลล์ B3 และ B4 ตามลำดับ
- · ค่า X คืออุณหภูมิ เอามาจากคอลัมน์ A
ในตัวอย่างรูปที่ 1 เซลล์ C7 ผูกสูตรไว้คือ =$B$3+$B$4*A7
ตัวสัญลักษณ์ $ คือเซลล์นี้จะเป็นเซลล์คงที่ เวลาลากก๊อปปี้ลงไปข้างล่าง ค่า a และ b
จะผูกมาจากจุดเดิมคือเซลล์
B3 และ B4
ในเซลล์เป้าหมาย เราใช้ผลรวมของความแตกต่างจากค่าจริง กับค่าสมการ ในตัวอย่าง เราใช้เป็นค่า Absolute
ของผลต่าง ของ ค่าจริง และ ค่าจากสมการ บวกรวมกันในเซลล์ D16
ให้สังเกตว่า ใส่ค่าผลต่างอยู่ในรูป Absolute
ABS(B7-C7) เป็นต้น เพื่อให้ error
ทั้งทางบวกและลบถูกจัดค่าให้น้อยลงในทิศทางเดียวกัน ในบางกรณี เราอาจใช้การยกกำลังสองก็จะได้ผลเหมือนกัน
รูปที่ 1: การผูกสูตรตัวแปร ไปยัง Target
cell
เมื่อเราตั้งค่าใน Solver เสร็จสิ้น แล้วกด Solve
เราจะได้ผลดัง
รูปที่ 2 Solver จะสุ่มหาค่าสัมประสิทธิ์ a
และ b ให้
รูปที่ 2 ผลลัพธ์การ fit
สมการจาก Solver
ในกรณีของ Air Thermal Conductivity ตามรูปที่ 3
เราจะเห็นว่า ค่าจริงจะมีความโค้งเล็กน้อย เราอาจปรับใช้สมการเป็น Y=a+bX+cX2
ก็ได้ ซึ่งก็เพียงแค่จัดการผูกสูตรใหม่ เพิ่มเซลล์ขึ้นสำหรับค่าตัวแปร c
นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้สมการรูปแบบอื่นๆ ไม่ต้องจำกัดแค่สมการ polynomial
รูปที่ 3 เทียบค่าจริงจากตาราง และ สมการความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นมา
การเลือกใช้สมการ
การดัดโค้งเส้นสมการให้เข้ากับข้อมูลเป็นศิลปะ สมการที่ดีควรมีตัวแปรที่น้อยและเรียบง่ายที่สุด ทำ integration และ differentiation ง่าย อย่างค่าความจุความร้อน หรือ Cp
ค่า Cp จริงๆไม่ใช่ค่าคงที่ มันแปรผันตามอุณหภูมิ และเวลาเราคำนวณหาพลังงานจาก Cp
ที่เราเขียนง่ายๆว่า DQ = m.Cp.DT ในช่วงอุณหภูมิแคบๆ สมการนี้ก็แค่พอใช้ได้ แต่พอป็นกรณีของหออบ หรือเตาเผา ที่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอยู่ในช่วงหลายร้อยหลายพันองศา error
จากการประมาณให้ค่า Cp คงที่จะมีความผิดพลาดมาก และเราต้องใช้ dQ
= m.Cp.dT แทน การหาค่าสมการ Cp ออกมาเป็น สมการ เช่น กรณีของอากาศ
เราสามารถ integrate CpdT ได้ดังตัวอย่าง
ถ้าเราดูตาราง Cp ของอากาศ จากช่วง 0 องศา ไปถึง 1000 องศา Cp จะเปลี่ยนจาก 1.00 kJ/kg.oC ไปเป็น 1.17 kJ/kg.oC ถ้าเรารู้พลังงานกับอุณหภูมิเริ่มต้น เรายังไม่รู้ค่าอุณหภูมิสุดท้าย เราอาจใช้ Cp เป็นค่าสมมุติจากอุณหภูมิแรก ซึ่งมันก็จะมี error ได้ในหลัก 10% ถ้าเราไม่ทำการคำนวณซ้ำ และถึงเราจะประเมินค่า Cp โดยใช้ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 อุณหภูมิ เราก็จะยังจบลงด้วยการคำนวณซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบและเราก็ยังจะเจอ error เพราะ ค่าความจุความร้อนนี้ไม่ได้เป็นเส้นตรงกับอุณหภูมิ
ถ้าเราดูตาราง Cp ของอากาศ จากช่วง 0 องศา ไปถึง 1000 องศา Cp จะเปลี่ยนจาก 1.00 kJ/kg.oC ไปเป็น 1.17 kJ/kg.oC ถ้าเรารู้พลังงานกับอุณหภูมิเริ่มต้น เรายังไม่รู้ค่าอุณหภูมิสุดท้าย เราอาจใช้ Cp เป็นค่าสมมุติจากอุณหภูมิแรก ซึ่งมันก็จะมี error ได้ในหลัก 10% ถ้าเราไม่ทำการคำนวณซ้ำ และถึงเราจะประเมินค่า Cp โดยใช้ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 อุณหภูมิ เราก็จะยังจบลงด้วยการคำนวณซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบและเราก็ยังจะเจอ error เพราะ ค่าความจุความร้อนนี้ไม่ได้เป็นเส้นตรงกับอุณหภูมิ
การสร้างสมการตามลักษณะความโค้งของกราฟ
การสร้างสมการ เรารู้ว่าสมการ polynomial
ยิ่งใส่ polynomial order สูงเท่าไรมันยิ่งจะดัดให้เข้ากับค่าจริงจากการตรวจวัด แต่ยิ่งสมการยาวเหยียด การทำ integration
หรือ
differentiation จะยุ่งยาก เราควรเลือกใช้องค์ประกอบของสมการให้เหมาะสม ข้างล่าง เป็นตัวอย่างกราฟจากสมการรูปแบบต่างๆ ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้ โดยให้เราพลอตกราฟข้อมูลระหว่างข้อมูลก่อน แล้วเลือกกราฟที่มีลักษณะใกล้เคียงกับข้อมูลของเรา
รูปที่ 4 ลักษณะของกราฟสมการความสัมพันธ์แบบต่างๆ
ข้อควรระวังในการเลือกใช้สมการ
เมื่อเราจะเลือกใช้สมการความสัมพันธ์ อย่าลืมทบทวนความสัมพันธ์พื้นฐานทางฟิสิกส์ สมการการไหล ความดัน แปรผันกับ ความเร็วกำลังสอง ตามสมการพื้นฐานของเบอร์นูลี และ ถ้าเราจะสร้างสมการขึ้นมาแสดงความดันเฮดของปั๊มกับอัตราการไหลก็ควรจะรักษาพจน์ความสัมพันธ์นี้ไว้ หรือตัวอย่างข้างล่าง ถ้าเราจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ความถ่วงจำเพาะของอากาศกับอุณหภูมิ เราอาจใช้สมการ Exponential ประกอบกับ Polynomial 1st order ในการแสดงความสัมพันธ์
รูปที่ 5 ความสอดคล้องของสมการที่สร้างมาแสดงความสัมพันธ์ ความถ่วงจำเพาะ กับอุณหภูมิของอากาศ
แต่ถ้าเราฉุกคิดสักนิด ความถ่วงจำเพาะคือส่วนกลับของปริมาตรจำเพาะ และสมการก๊าซ บ่งชี้ว่า PV = RT ถ้าเราจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ถ.พ. กับ อุณหภูมิ เราสร้างความสัมพันธ์ของปริมาตรจำเพาะกับอุณหภูมิ แล้วแปลงปริมาตรจำเพาะเป็นความถ่วงจำเพาะ เราจะสร้างสมการใช้งานได้ง่ายกว่า และถูกต้องกว่ามาก
รูปที่ 6 ความสอดคล้องของสมการที่สร้างมาแสดงความสัมพันธ์ ปริมาตรจำเพาะ กับอุณหภูมิของอากาศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น