หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

ชำแหละปริศนา: สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา


 สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา มันคือสถานที่มายา ที่อยู่ของเหล่า Nobles และ Noblesse ผู้คุ้มครองมนุษย์มาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เรามารู้จักกับอาถรรพ์ ความลึกลับ ... โทษๆ อารมณ์เพลินไปหน่อย ตำนานสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าเป็นตำนานที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ และมีการอ้างถึงในหนังในละครเป็นข้อเท็จจริงอย่างเป็นตุเป็นตะ วันก่อนนี้ ก็เพิ่งได้ยินว่ามีคนทำการศึกษาทฤษฏีการสูญหายของเรือในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจากการเกิดฟองก๊าซฯลฯ ก็คิดว่า มันสมควรจะชำแหละไว้ให้ได้รู้กันว่า ที่มาที่ไป มันเป็นอย่างไร

พิกัดโดยประมาณของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าพิกัดโดยประมาณของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า เป็นพื้นที่ที่สมมุติขึ้นให้อยู่ระหว่าง ไมอามี่(แหลมฟลอริด้า) - เกาะเบอร์มิวด้า – เปอร์โตริโก้ ขอบเขตพื้นที่นั้น ครอบคลุมระหว่าง 1,900,000 – 3,900,000 ตารางกิโลเมตร ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเขียน เพราะสามเหลี่ยมดังกล่าวไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นทางภูมิศาสตร์ แต่ถูกเรียกใช้โดยนักเขียนขี้เปียกที่หากินกับเรื่องลึกลับ Since 1950[1] เวลามีเรื่องราวอุบัติเหตุใกล้ๆพื้นที่ตรงนี้ ก็นับเหมาโหลว่ามันเกิดขึ้นในสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า พื้นที่ดังกล่าวจึงใหญ่โตไม่ใช่เล่นเลยทีเดียว

ทฤษฎีการสูญหายของเครื่องบินและเรือที่ผ่านในพื้นที่ดังกล่าว มีมาตั้งแต่การลักพาตัวของมะนาวต่างดุ๊ด เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสูญหายไปของทวีปแอตแลนติส วังน้ำวนที่ดูดสรรพสิ่งหายไปในมิติอื่น และก็มีความพยายามจะอธิบายการหายไปของเรือและเครื่องบินที่ดูเป็นวิทยาศาสตร์ แม้จะไม่มีหลักฐานก็เหอะ เช่นการเกิดการปลดปล่อยของฟองก๊าซมีเธนทำให้ ถพ น้ำลดเรือเลยจม หรือการรบกวนของสนามแม่เหล็กโลก[2]
 ที่ผมอยากเน้นคือ คำอธิบายที่ดูเป็นวิทยาศาสตร์ แม้จะไม่มีหลักฐานก็เหอะ
ที่กล่าวไว้แบบนั้น ก็เพราะ สมมุติฐานต่างๆของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าที่มีปัญหานั้น มันเริ่มตั้งแต่ มีเรือ และเครื่องบินหายสาบสูญในบริเวณนี้เป็นอันมากอย่างผิดปรกติ
 เกาะเบอร์มิวด้า ก็ไม่ใช่พื้นที่ดินแดนกันดารแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อแห่งหนึ่งของโลก เกาะเบอร์มิวด้า ก็ไม่ใช่พื้นที่ดินแดนกันดารแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อแห่งหนึ่งของโลก

ไมอามี่ ฟลอริด้า เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีสนามบินและท่าเรือใหญ่ เช่นเดียวกับที่บาฮามาส ถ้าคุณจะเดินทางจากยุโรปมาที่ไมอามี่ หรือ บาฮามาส คุณก็ต้องผ่านพื้นที่ สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้านี่ละ จำนวนการจราจรที่คับคั่ง โอกาสการเกิดอุบัติเหตุก็สูงตามเป็นธรรมชาติ เฉพาะที่บาฮามาสแห่งเดียว ก็มีเที่ยวบินกว่า 50,000 เที่ยวต่อปี และถ้ารวมฟลอริด้าเข้าไปด้วย เราดูกันได้จาก infographic การการเดินเรือ[3] พื้นที่ดังกล่าว จัดว่าเป็นพื้นที่ๆมีการจราจรทางน้ำคับคั่ง น่าจะที่สุดของโลกทีเดียว

  แผนที่แสดงเส้นทางเดินเรือของโลกแผนที่แสดงเส้นทางเดินเรือของโลก

ในการบ่งชี้ว่าการสาบสูญนั้นปรกติ หรือผิดปรกติ จึงจะต้องมีการคำนึงถึง สัดส่วนการเกิดอุบัติเหตุ การสูญหาย ต่อจำนวนเที่ยวเรือ และยิ่งไปกว่านั้น จากการศึกษาของ University in Southampton ประเทศอังกฤษ 10 อันดับน่านน้ำอันตรายของโลก ก็ ไม่ปรากฏพื้นที่น่านน้ำสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าขึ้นติดโผเลย[4]
 แผนที่แสดง 10 อันดับน่านน้ำอันตรายของโลกแผนที่แสดง 10 อันดับน่านน้ำอันตรายของโลก

ในปัจจุบัน ตำนาน สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า ถูกขยับขยาย และร้อยมาเป็นส่วนหนึ่งของ 1 ใน 12 วังวนอันตราย ที่เรียกว่า Vile Vortice[5] ที่นักเขียนขี้เปียก Ivan Sanderson เขียนออกมา และก็มีคนมโนต่อเป็นตุเป็นตะด้วยทฤษฏี สนามแม่เหล็กโลกสุดเมพ แน่นอน ตำแหน่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ตรงกับสถานที่ๆ อันตรายจริงๆ กับเขาหรอกนะ แต่ ทะเลเวิ้งว้างกว้างไกล จะน่านน้ำไหนๆมันก็ต้องมีเรือจมเรือหายให้เอามาแถเป็นส่วนหนึ่งของตำนานสักลำสองลำนั่นละน่ะ  มันเป็นการใช้ตรรกะในลักษณะ  Confirmation Bias (ความเอนเอียงเพื่อการยืนยัน) ต้องการแต่จะยืนยันว่ามันจริง ก็ใช้วิธีจับจ้องค้นหาแต่จะหาว่ามันมีเรือหาย เครื่องบินหาย ไม่ได้มองให้ครบว่า ที่ว่ามีเรือมีเครื่องบินหาย มันจะตัดสินอย่างไรว่าผิดปรกตินั่นเอง
Vile Vortices หรือน่านน้ำอันตราย ตามการมโนของ Ivan SandersonVile Vortices หรือน่านน้ำอันตราย ตามการมโนของ Ivan Sanderson

แผนที่ตำแหน่งสามเหลี่ยมอันตราย Vile Vortices ของโลก แน่นอน มันไม่ตรงกับผลสำรวจที่ศึกษากันจริงๆจังๆหรอก ก็แค่ลากเส้นกันมั่วๆแค่นั้น

สุดท้าย

 มหาสมุทร เป็นสถานที่ลึกลับสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่ออากาศแปรปรวนและต้นหนที่ไม่เก่งพอมันจะเป็นสถานที่อันตราย ซึ่งเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก ถ้าจะหาเรือหาเครื่องบินสาบสูญ มันก็มีกันให้เกลื่อนทะเลนั่นแหละครับ อ่าวไทยก็มี
---------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Bermuda_Triangle
[2] http://oceanservice.noaa.gov/facts/bermudatri.html
[3] http://www.zdnet.com/article/infographic-global-shipping-routes-mapped-using-gps-data/
[4] http://www.bbc.com/news/science-environment-22806362
[5] http://www.marineinsight.com/marine/life-at-sea/maritime-history/deciphering-the-mystery-of-vile-vortices/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น