หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

Site visit: Saha Cogen Green



ช่วงประมาณ กลางเดือนมกราคม 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ของสหโคเจนกรีน ที่กบินทร์บุรี จ ปราจีนบุรี โดยเข้าไปในฐานะตัวแทนกรรมการโครงการ Cool the World ที่มีเป้าหมายในการลดโลกร้อน


นเมืองไทย เวลาที่พูดถึงพลังงานทดแทน เรามักคิดถึงพลังงานจากธัญพืชซึ่งมีอัตราการเติบโตต่ำ ใช้พื้นที่เยอะ และค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่การใช้ไม้พลังงานมักถูกต่อต้านจาก NGO ว่าเป็นการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่ง ความจริงแล้ว โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลจากไม้ก็ต้องปลูกขึ้นมาเอง เป็นป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ ในประเทศเขตหนาว มักจะศึกษาไม้ในสายพันธุ์ไม้สน เพราะมีความหลากหลายอยู่ในพื้นที่ หรือไม้ยูคาลิปตัส เพราะมีอัตราการเติบโตสูง แต่สำหรับบริษัทสหโคเจนกรีน การศึกษาจะไปอยู่ที่พืชตระกูล ไม้กถิน เช่น กระถินนรงค์ (Acacia auriculiformis) หรือ กระถินเทพา (Acacia mangium) เพราะมีอัตราการเติบโต การสะสมของเนื้อไม้สูง ปลูกครั้งหนึ่งสามารถตัดได้หลายครั้ง โดยให้แตกจากตอเดิม ในกระถินนรงค์ปัจจุบันสามารถทำการชำได้ ทำให้ไม่มีรากแก้ว เมื่อตอตาย สามารถขุดถอนรากถอนโคนได้ง่าย และสามารถใช้พื้นที่เดิมทำการเพาะปลูกได้หลายครั้ง


วิธีการนำไม้มาแปรรูป ทำโดยนำไม้มาตากให้ความชื้นลดลง และใช้เครื่องสับ ซึ่งมีลักษณะคล้ายโม่ ทำให้ไม้มีลักษณะเป็นเศษเล็ก เพื่อนำเข้าไปเผาในหม้อต้มน้ำ และนำไอน้ำไปใช้พลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าต่อไป ในพื้นที่ของสหโคเจนกรีน ปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้เพราะถูกต่อต้านจากภาค NGO ว่าจะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ จากการเผาไหม้ และกลัวการเกิดมลพิษจากโรงไฟฟ้าเช่นกรณีของโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินที่แม่เมาะเป็นต้น

ความเป็นจริงแล้ว การบำบัดมลพิษฝุ่น หรือ SOx สามารถจัดการง่ายๆด้วยอาศัย scrubber หรือ ESP แต่ปัญหาความหละหลวมในการจัดการมลพิษ และความไร้ความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย ก่อให้เกิดความกลัวที่ฝังรากในสังคมต่อเชื้อเพลิงชีวมวลและเชื้อเพลิงแข็ง สุดท้ายการต่อต้านแทนทีจะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ก็กลับบังคับให้เราต้องใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงสิ้นเปลือง และเร่งการนำคาร์บอนที่สะสมในโลกออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เร็วยิ่งขึ้น

ผมได้แต่หวังว่า ต่อไปประเทศไทยจะมี โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขนาดใหญ่ที่สามารถทดแทน โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าน้ำมันเตา และผมคงต้องจับตาดูต่อไปว่า โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลของสหโคเจนกรีน จะสามารถฟันฝ่าแรงต้านทานของ NGO ไปได้หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น