หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทความย้อนหลัง: วิเคราะห์ปัญหาภัยแล้ง สมดุลน้ำของไทย 2553



บทความนี้ผมเขียนขึ้นมาตอนเดือนมิถุนายนของปี 2553 ในตอนที่เอาขึ้น Facebook ภาวะการณ์น้ำขาดก็คลี่คลายลงค่อนข้างมากแล้ว บทความตอนที่ลงที่หว้ากอก็โดนด่าพอสมควรซึ่งก็เป็นธรรมดาของคนไทยที่ยังตกอยู่ในภาวะคิดไปเองจากการประชาสัมพันธ์ภาวะโลกร้อน ค่อนข้างมาก คือถ้าใครจะทำอะไรเพื่อภาวะโลกร้อนก็ต้องชาบูๆกันอย่างเดียว ห้ามแย้ง ต่อให้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาอยู่ตรงหน้าก็ตาม

มิถุนายน 2553: ช่วงนี้ประเทศไทยมีข่าวกันเยอะเรื่องแล้ง น้ำขาด เรามาดูกันแบบแนวๆการบริหารจัดการทรัพยากรกันสักนิดว่าน้ำในประเทศเราขาดกันเพราะอะไร ปัจจัยหลักของทรัพยากรนั้น มันก็คือ Mass balance ธรรมดาๆ นั่นคือ
Input = Output + Loss
ตัว Input ก็คือน้ำฝนไหลเข้าเขื่อนกักเก็บ Output ก็คือการใช้งาน ซึ่งเขื่อนในบ้านเราจะมีการใช้อยู่ 2 ด้าน คือชลประทาน และการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก และ Loss ก็คือการระเหย เรื่องน้ำนี้ มีที่สำคัญต้องรู้คือ ถ้าน้ำไหลเข้าในปีก่อนพอเพียง ปีนี้น้ำไหลเข้าน้อย (แล้ง) น้ำก็อาจไม่ขาด ลองดูตามกราฟ

ประเด็นการดุลปริมาณน้ำเข้าออก ของเขื่อนภูมิพล ผมเก็บข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี สังเกตค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำเข้าออก จริงๆตัวน้ำเข้า-ออก ส่วนการระเหยที่คนพูดกัน ถ้าเอา Heat – Mass transfer มาจับ ปริมาณการระเหยสูงสุดจะจำกัดแค่ปริมาณพลังงานเข้าจากแสงอาทิตย์ สมมุติแสงอาทิตย์ตกมาที่ 340 W/m2 พื้นที่ผิว อ่างเก็บน้ำภูมิพลแค่ 136 ตารางกิโลเมตร เราใช้ ดุลที่ Q = q.A = m.dHvap ตรงนี้ ปริมาณการระเหยตลอด 1 ปี จะอยู่แค่ 634,000 ลูกบากศ์เมตร ก็ 0.634 ล้าน ลบม ตรงนี้ต่างจากความต่างของน้ำเข้าที่ระดับ 2,000 ล้าน ลบม ไปมาก แม้จะคิดเรื่องการล้นฝาย ที่ปริมาณจุสูงสุด 13,460 ล้าน ลบม อัตราล้นเฉลี่ยก็อยู่แค่ 800 ล้าน ลบม/ปี


ถ้าเราลองประเมินการผ่านของน้ำผ่านดิน ตัวเลขจริงๆก็คือส่วนต่างน้ำเข้า น้ำออก น้ำระเหย ซึ่งน่าจะอยู่แถวๆ 1,000-2,000 ล้าน ลบม ต่อปีนั่นเอง ตัวเลขระดับน้ำใต้พื้นดิน จ. ตาก ประเมินค่อนข้างยากทีเดียวเพราะมันแตกต่างตามฤดูกาลด้วย แตกต่างตามระยะจากเขื่อนด้วย และการไหลเข้าของน้ำจากต้นทางแหล่งต่างๆ ปรกติอัตราการซึมผ่านในการทำเขื่อนจะมีการเข้าโมเดลกันไว้ ก็คงต้องขอแรงพวกๆเรามาลองหาแกะดูกันเอง เพราะผมคงจะกลับไปลงเรื่องโมเดลภาวะโลกร้อนมากกว่า อัตราการสูญเสียน้ำผ่านการซึมหาย ตรงนี้มีปัจจัยหนึ่งที่ผู้ที่ต่อต้านเรื่องเขื่อนเคยให้ไว้ คือการมีอยู่ของพืชคลุมดิน ก็ป่าไม้นั่นเองละครับ การที่น้ำซึมผ่าน มันก็ต้องออกไประเหย และการระเหย จำกัดที่ปริมาณแสงอาทิตย์ต่อพื้นที่ การมีพืชคลุมดิน เช่นมีป่าอุดมสมบูรณ์ การหายของน้ำจากการระเหยในอาณาบริเวณน่าจะน้อยลง มันก็ดึงน้ำออกจากดินน้อยลง

ไหนๆก็ไหนๆ เรามาดูปริมาณน้ำท่าของเขื่อนใหญ่อื่นๆในประเทศเรากันดูเพราะปัญหาเรื่องแล้ง เราดู input, output และ Loss เรารู้ละว่า Loss มันส่งผลเยอะ แต่มันแค่เพราะหายไปเยอะ หรือน้ำเข้าน้อย หรือใช้กันเยอะแน่ ถ้าเราดูปริมาณการใช้น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ก็จะเห็นว่า ปี 2009 มีการใช้น้ำเพิ่มเป็น Peak ขนาดใหญ่ทีเดียว

การใช้น้ำของปี 2009 ไม่ใช่การใช้น้ำแค่การเกษตรแต่เป็นการใช้น้ำเพื่อพลังงาน เขื่อนที่มีการปล่อยน้ำมากเป็นพิเศษในปีนั้นคือเขื่อนปากมูล ซึ่งเป็นเขื่อนที่มีไว้แค่ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ได้ทดน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ดูตามข้างล่าง เราจะเห็นการใช้เฉพาะเขื่อนปากมูลมีการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงมาก ปริมาณน้ำที่ปล่อยก็ 40,000 ล้าน ลบม ทีเดียว ปริมาณน้ำเข้าที่เห็นผิดปรกติในปี 2000 มันก็มาจากเขื่อนปากมูลที่ทดระดับน้ำขึ้นมาจากแม่น้ำมูล ตรงนี้มันไม่ใช่ส่วนที่บอกถึงปริมาณน้ำฝนเลย

สิ่งที่น่าสนใจของกรณีการที่น้ำเข้าน้ำออกถ้าตัดประเด็นของเขื่อนปากมูลออกไป เอาเข้าจริงๆปริมาณฝนไม่ได้แล้งอะไรเลย แต่ที่แน่ๆ การใช้น้ำของเรามันเข้าใกล้ ระดับปริมาณน้ำเข้า ร่วมกับการซึมหายจากก้นเขื่อน ครับ ผมให้เส้นไว้สองเส้น เส้นบนเป็นเฉลี่ยปริมาณน้ำเข้าซึ่งค่อนข้างคงที่ แต่เส้นล่างเป็นปริมาณการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นสะสมโดยเฉลี่ยประมาณ 500 ล้าน ลบม ต่อปี
การเพิ่มขึ้นนี้อาจไม่ใช้แต่เฉพาะภาคการเกษตรแต่เป็นด้านภาคพลังงานด้วย โดยเฉพาะถ้าเราดูกรณีของเขื่อนปากมูลที่มีการปล่อยน้ำมากเป็นประวัติการณ์

ตรงสรุปสุดท้ายนี้ ผมอยากให้ทุกคนได้ลองกลับมาทบทวนการอ้างทุกสิ่งทุกอย่างว่ามาจากโลกร้อน หรือพูดเอาง่ายๆว่ามันแล้ง ฝนไม่ตกกันนะครับ น้ำ มีลักษณะเป็นทรัพยากร มันมีปริมาณการเข้าและออกจากระบบที่เรียกว่าประเทศไทยค่อนข้างคงที่ ถ้ามันแค่ตกไม่ลงเขื่อน ระดับน้ำก็น้อย แต่สำคัญยิ่งกว่าตกลงหรือไม่ลงเขื่อน ถ้าเราใช้เยอะขึ้น การสะสมเข้าทดแทนมันก็น้อยลง เกิดเป็นวิกฤตอย่างที่เราพบกันอยู่ อนุรักษ์ป่า ต้นน้ำสำคัญ อนุรักษ์ป่าปลายน้ำ กันการซึมและระเหยออกก็สำคัญ การควบคุมการใช้ให้น้อยกว่าที่มีเข้ามานั้นสำคัญที่สุด ฝนที่ตกลงในประเทศไทย อย่างไรก็มีอยู่คงที่แค่ 800 ลูกบากศ์กิโลเมตร คงเก็บไว้ได้ก็แค่ 150 ล้าน ลูกบากศ์กิโลเมตร ถ้าเราใช้เกินกว่านี้ เราก็ต้องไปเอาน้ำส่วน 650 ล้านลูกบากศ์กิโลเมตรมาใช้ แต่ท้ายสุดมันก็หมดอยู่ดีครับ

พฤศจิกายน 2553 ตัวเลขปริมาณน้ำที่สรุปยอดจนถึง 5 พฤศจิกายนคือ 22,833 ล้าน ลบม เก็บกักได้น้อยกว่าปีที่แล้ว3,900 ลบม แต่ทั้งนี้ น้ำในเขื่อนแม่งัด อุบลรัตน์ จุฬารณ์ ห้วยกุ่ม มีระดับน้ำเกินกักเก็บ (เกิน 100%) หรือล้นเขื่อน เพราะการที่ฝนกระจายตัวไม่ดีการเก็บกักน้ำก็ไม่เต็มประสิทธิภาพ นั่นก็คือปัญหาภัยแล้ว ไม่ได้อยู่ที่ฝนตกน้อย แต่การตกกระจุกตัวจนล้นเก็บกักไม่ได้นี่เอง แล้วพอเขื่อนเต็มนี่น้ำท่วมเขื่อนช่วยไม่ได้ก็จะท่วมกันนานทีเดียว ของปี 2549 ที่มีน้ำท่วมใหญ่ เขื่อนต่างๆยังไม่เต็มก็ท่วมกันไม่นาน ของปีนี้ เรากลัวแล้ง น้ำมาพอเก็บได้ก็เก็บหมด ไม่ได้พร่องเผื่อไว้ สภาพน้ำท่วมที่เขื่อนเต็มนี้จะบริหารได้ยังไงก็ไม่รู้นะครับ

อ้างอิง
ปริมาณน้ำท่า

ทฤษฏีการซึมหายของน้ำ
โมเดลการซึมหายของน้ำในเขื่อนคันจิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น