บอกกล่าว: เรื่อง Pyrolysis oil นี้ เกิดขึ้นเพราะวันหนึ่ง อ. มนูญศักดิ์ จาก ออป. ได้มาสอบถามผมเรื่องความเป็นไปได้ในการที่ ออป. จะร่วมลงทุนปลูกไม้เพื่อขายให้โรงงานผลิต Pyrolysis oil ซึ่งผมก็ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ให้แกไปฟรีๆ ซึ่งไหนๆ ผมทำให้แกไปฟรีๆ ผมจะเอามาเผยแพร่ซะหน่อยก็คงไม่เป็นไร และจะได้เป็นการช่วยสนับสนุนการลงทุนผลิตพลังงานหมุนเวียนไปด้วย เผื่อมีใครเป็นนักลงทุนแถวนี้ จะอยากตั้งโรงงานผลิต Pyrolysis oil ผมจะได้ไปสมัครงานเป็นที่ปรึกษาด้วยคน (อิๆๆ)
พืชมีความสามารถที่จะจับคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนเป็นสารไฮโดรคาร์บอนได้ อย่างไรก็ตาม สถานะของไม้เป็นของแข็งทำให้มีข้อจำกัดของการใช้งาน (เช่นการใช้ทดแทนในเครื่องยนต์สันดาป หรือการควบคุมปริมาณการไหลของเชื้อเพลิงใน Boiler) ซึ่งทำให้มีการวิจัยเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงชีวมวลให้อยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียมได้
Pyrolysis oil ได้ถูกศึกษาถึงการนำมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันPyrolysis ผลิตโดยการให้ความร้อนกับชีวมวล เช่น ไม้และเศษวัสดุทางการเกษตร ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส และให้ความเย็นเพื่อกลั่นก๊าซที่ได้จากกระบวนการออกมา ของเหลวที่ได้จากกระบวนการ เป็นน้ำมันที่มีองค์ประกอบของอัลดีไฮด์และเอสเทอร์เป็นหลัก
สมบัติทางกายภาพของ Pyrolysis Oil
น้ำมัน Pyrolysis มีสมบัติเป็นกรด และมีปริมาณน้ำเจืออยู่ค่อนข้างสูง (8-20%) มีปริมาณออกซิเจนในโครงสร้างสูงเพราะมีส่วนประกอบของอัลดีไฮด์และเอสเทอร์ ปริมาณความร้อน 17.5MJ/kg ค่อนข้างต่ำเทียบกับน้ำมันเตาที่มีค่าพลังงาน 46MJ/kg น้ำมัน Pyrolysis มีการแยกชั้นเมื่อเก็บไว้นิ่งๆจึงต้องมีการกวนต่อเนื่อง (คล้ายน้ำมันเตา) มีจุดวาบไฟอยู่ระหว่าง 40 – 100 องศาเซลเซียส น้ำมัน Pyrolysis สามารถปรับใช้แทนน้ำมันเตาได้
จากตารางข้างต้นนั้นแม้ว่าราคาน้ำมันจากกระบวนการ Pyrolysis จะมีค่าสูงกว่าน้ำมันเตา หากทว่า ราคาดังกล่าวเป็นราคาอ้างอิงจากการผลิตไม้ของประเทศในกลุ่ม EU ที่ 50 €/Ton ซึ่ง ประเทศไทยสามารถผลิตไม้ด้วยราคาถูกกว่านั้น จากข้อมูลขององค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เราสามารถผลิตไม้ยูคาลิปตัสที่ต้นทุนประมาณ 400 บาท ต่อตัน ที่ต้นทุนส่วนต่างประมาณ 6-7 เท่านี้ ผู้เขียนประเมินโดยคร่าวว่า ถ้าเรานำกระบวนการ Fast pyrolysis สำหรับผลิต Pyrolysis oil มาใช้ในไทย เราอาจผลิตได้ที่ต้นทุนประมาณ 0.25บาท/MJ
โอกาสทางการค้าของประเทศไทยอยู่ที่หน้าประตูเราแล้ว
ตั้งแต่มีการปรับใช้ CDM (Clean Development Mechanism) และมีการยอมรับการซื้อขาย Carbon credit ระหว่างประเทศจากความพยายามในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ประเทศในกลุ่มยุโรปและอเมริกาที่มีการใช้พลังงานจำนวนมาก จำเป็นต้องซื้อ carbon credit จากประเทศที่มีศักยภาพที่จะปลูกป่า หรือใช้ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนที่จะ Fix carbondioxide ให้กลับไปอยู่ในรูปชีวมวล
แม้ว่าสมบัติของแสงอาทิตย์ประเทศไทยจะมีค่ารังสี UV ต่ำ (ส่วนใหญ่เป็น infrared) ทำให้ประเทศไทยไม่เหมาะจะใช้ Solar cell ในการผลิตไฟฟ้า แต่ในภาพรวมแล้ว ภูมิอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรามีปัจจัยบวกต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นผู้ผลิตพลังงานทดแทนชนิดชีวมวลออกขายได้ แถมเราจะทำได้ที่ราคาถูกพอจะทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียมโดยไม่ต้องพึ่งการสนับสนุนใดๆจากภาครัฐซะด้วยสิครับ หรือก็คือ นี่เป็นเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำใช้ได้ในปัจจุบันแล้ว
อนาคตการทดแทนน้ำมันด้วยเชื้อเพลิงราคาถูกอื่นๆ
แม้ว่าการใช้งานของ Pyrolysis oil ในปัจจุบัน ยังจำกัดแค่การทดแทนใช้น้ำมันเตา แต่ ถ้าเรายังมีการศึกษาด้านนี้ต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต โอกาสการพัฒนาการสังเคราะห์น้ำมันเบนซิน น้ำมัน Kerosine หรือแม้แต่วัสดุโพลิเมอร์ต่างๆ ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ก็ย่อมอาจเป็นไปได้
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น