เป็นสิ่งที่น่าปวดหัวปวดตับมาก กับปรากฏการณ์ทางสังคมของไทยที่เวลาอยากเขียนอะไรโจมตีใครก็เขียนประวัติศาสตร์ป้ายสีกันอย่างหน้าด้านๆ พฤติกรรมเขียนประวัติศาสตร์ด้วยปาก เป็นลักษณะสันดานเสียอย่างหนึ่งที่คนไทยเราชอบใช้เป็นอาจิณ การเขียนประวัติศาสตร์ด้วยปากนั้นจะใช้ร่วมกับการผลักภาระการพิสูจน์ หรือใช้ Burden of proof ให้คนจะโต้แย้งต้องมาแก้ต่าง แล้วพอโดนจับผิดได้ ก็จะมีการแถว่าทำไปโดยสุจริตใจ หรือการใช้ Intentional Fallacy กันอีก
ตัวอย่างเพิ่งเกิดสดๆร้อนๆกับกรณีวิวาทะ ที่เกิดจากนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวโจมตีการทำงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วยถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม รุนแรง ว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาล “แปตอหรู” จากกรณีการตบัตสัตย์เรื่อง นโยบายขึ้นค่าแรง 300บาท การยกเลิกรถเมล์ รถไฟฟรีหรือการจะลดที่ใช้ไฟฟรีจาก 95 เหลือ 65 หน่วย ซึ่ง รัฐบาลนี้ได้เอาไปใช้หาเสียงแล้วก็มีทีท่างอแงจะทำไม่ได้ (ดูสัญญาหาเสียงเพื่อไทย) ทำให้เหล่าผู้สนับสนุนสิทธิสตรีออกมาดาหน้าปกป้องฟ้องร้องกันอย่างเอิกเกริก ความจริงการเข้าข้างเพราะนายกคนนี้เป็นเพศหญิงจึงวิจารณ์ไม่ได้ก็ว่าแย่แล้ว แต่ที่แย่ที่สุดก็คือคำวิจารณ์ชอง ลักขณา ปันวิชัย หรือคำ ผกา นักเขียน นักแปล คอลัมนิสต์ฝีปากกล้า ที่กล่าวไว้ว่า
ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล พรรคฝ่ายค้านก็ใช้วิธีซักฟอกรัฐบาลในรัฐสภาอย่างเอาจริงเอาจัง โดยที่ไม่เคยใช้คำพูดเสียดสี ด่าทอ หรือเยาะเย้ย ทำให้ประชาชนไว้วางใจเทคะแนนให้มาบริหารประเทศจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา และเมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายค้านสามารถตั้งฉายานามหรือจะบอกว่าเป็นการโกหกหลอกลวงอะไรก็ได้
อุแม่จ้าว นี่ผมลืมวาทกรรมของ ฐิติมา ฉายแสง ที่ไล่ อภิสิทธิ์ ไปนุ่งผ้าซิ่น หนีทหารไม่ใช่ลูกผู้ชาย รวมไปถึง สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ที่บอกตัวเองติดนิสัยเสียดสีมาจาก ปชปสำหรับคนสุดท้ายนั่น สงสัยเพราะเขาไม่ใช่ สส พรรคเพื่อไทยที่แท้จริง ประมาณ ตรรกะ No True Scotsman เสียกระมัง
การเขียนประวัติศาสตร์ด้วยปาก เป็นพฤติกรรมที่หยาบช้า และโง่เง่า โดยเฉพาะในยุคอินเตอร์เนตที่สิ่งที่มีการกล่าวและพูดจะถูกบันทึกไว้ชั่วลูกชั่วหลาน โตกันเป็นวัวเป็นควายกันแล้ว พยายามใส่ใจกับคำพูดกันหน่อย อย่าสร้างวาทกรรมเลื่อนลอยเอาดีเข้าตัวเอาชั่วเข้าคนอื่นกันง่ายๆ มันไม่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น