บทความนี้เป็นเท็จ
จากข้อมูลของคุณแมวสีหมอก แห่งห้องหว้ากอ บางทีบทความนี้ทั้งหมดเป็นข้อผิดพลาด และ จขกท ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้http://www.astro.virginia.edu/~mfs4n/sgr/Update 9 กค 2555 15:44 สรุปว่าบทความตรงนี้ ไม่ Accurate จริงๆบทความ Debunk ให้ข้อบ่งชี้ว่า Cite ที่ให้มาไม่มีจุดอ้างอิงชัดเจน ซึ่งเห็นด้วยตามนั้น เพราะบทความต้นเรื่อง มีบ่งชี้แค่การรวมตัวของ SagDEG กับ กาแลคซี่ทางช้างเผือก และ แม้จะค้นต่อไปก็พบบทความประปรายถึงทฤษฏีการเกิดของดวงอาทิตย์นอกกาแล็คซี่ แต่ ก็ไม่โยงไปถึง SagDEG และก็ มี Discuss ในวิกิ ถึงข้อที่มันโยงไม่ถึงข่าวจากองค์กรต้นเรื่องด้วย http://en.wikipedia.org/wiki/Talk:Sagittarius_Dwarf_Elliptical_Galaxy
และโดยหลักการของบทความ ตามกฏ Burden of Proof ของผู้นำเสนอบทความ การที่บทความโยงไปไม่ถึงองค์กรต้นเรื่อง ย่อมถือว่า บทความนั้นอ้างอิงไม่ได้ ข้าพเจ้ายอมรับว่าบทความนี้ไม่ได้ตรวจสอบอย่างดีพอ และขอประจานตัวเองทิ้งไว้ เป็นการอ้างอิง สำหรับกรณีเกิดมีคนนำไปทำเป็น FWD Mail ลวงโลกครับ
“ลองคิดดูว่ามันจะช็อคแค่ไหนถ้าเราเติบโตมาในครอบครัวที่อบอุ่น กับคนที่เราเรียกว่า แม่ และ พ่อ แล้วมาเจอว่า เราเป็นลูกเลี้ยง”
- Dan Eden กล่าว [1]
จากประเด็นที่กาแล็คซี่
แอนโดรมีด้า จะชนปะทะกับทางช้างเผือกในอีก 4000 ล้านปีข้างหน้า ที่เคยมีถกกันในหว้ากอ ประมาณเดือนมิถุนายน 2555 และมีข้อถกเถียงเรื่องความเป็นไปได้ที่สุริยจักรวาลของเราจะอยู่รอด
ขณะที่ค้นข้อมูลดังกล่าว ก็ได้พบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ กาแล็คซี่ทางช้างเผือกของเรา
เคยมีการชนรวมกับกาแล็คซี่เล็กๆอื่นๆอีกมากมาย และ นักวิทยาศาสตร์ ก็ได้พบว่า
จริงๆแล้ว ระบบสุริยจักรวาลของเรามาจากมวลของกาแล็คซี่อื่น
เรามาจาก กาแล็คซี่แคระ ซาจิทาเรียส (Sagittarius Dwaft galaxy: SagDEG)
นักวิทยาศาสตร์มีข้อสงสัยมานานเกี่ยวกับมุมมองของทางช้างเผือกที่มองจากโลก
เพราะปรกติแล้ว ระบบสุริยจักรวาลใดๆ
ก็จะโคจรในระนาบเดียวกับการโคจรรอบจุดศูนย์กลางของกาแล็คซี่ ทว่า จากมุมมองของโลก
เราจะเห็นกาแล็คซี่ทางช้างเผือกเป็นมุมเอียงดังภาพประกอบ ซึ่งก็แสดงว่า
ระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของเรา อยู่คนละระนาบกับที่ระบบสุริยะของเราโคจรรอบศูนย์กลางกาแล็คซี่ทางช้างเผือก
[2][3]
สาเหตุที่ระนาบการโคจรของระบบสุริยะของเราอยู่คนละระนาบกับกาแล็คซี่ทางช้างเผือกนั้น
เหตุผลก็คือ เราเป็นร่องรอยที่หลงเหลือจากการสลายตัวของกาแล็คซี่ SagDEG ซึ่งเป็นกาแล็คซี่รูปวงรีที่กำลังสลายตัวรวมเข้ากับกาแล็คซี่ทางช้างเผือก
กาแล็คซี่ SagDEG นั้นถูกค้นพบในปี
1994 โดย ทีมนักดาราศาสตร์ Rodrigo Ibata, Mike Irwin
และ Gerry Gilmore กาแล็คซี่ SagDEG เป็นกาแล็คซี่ที่ถือว่าอยู่ใกล้ทางช้างเผือกที่สุดในขณะนั้น (ก่อนหน้าการค้นพบกาแล็คซี่
Canis Major Dwaft ในปี 2003) [4] ตัว SagDEG
นั้น เชื่อว่าเริ่มเดิมที เป็นกาแล็คซี่รูปทรงกลม
ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่แรงโน้มถ่วงของกาแล็คซี่ทางช้างเผือกจนยืดออกเพราะมวลของกาแล็คซี่
SagDEG นั้น น้อยกว่ามวลของทางช้างเผือกถึง 10,000 เท่า ตามข้อมูลการศึกษาจากทีม Astrophysics ในโครงการ
Two-Micron All sky Infrared Survey (2MASS) จำลองภาพการสลายตัวตาม
youtube ข้างล่าง [4]
เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จาก 2MASS ทำการศึกษาต่อไปถึงการกระจายตัวของละอองดาวจากกาแล็คซี่ SagDEG
ด้วยการจำลองโมเมนตัมการเคลื่อนไหว นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า
ทั้งสมบัติของมวลสุริยะจักรวาลของเรา และแนวระนาบโคจรของเราที่ผิดปรกติ
รวมไปถึงพฤติกรรมย่อยๆเช่นการเคลื่อนไหวแบบ Oscillation ผ่านระนาบทางช้างเผือก
(ประเด็นเดียวกับที่เคยมีทำทำนายระบบสุริยะของเราจะผ่านช่วงที่ดวงดาวหนาแน่นสุดๆในปี
2012 ตามปฏิทินมายา และเป็นวันสิ้นโลก) คำตอบก็คือ เราเป็นส่วนที่มาจากกาแล็คซี่
SagDEG นั่นเอง
แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าเป็นเรื่องประหลาดที่สุริยจักรวาลเรามีกำเนิดมาจากนอกกาแล็คซี่
แต่ในมุมมองของเอกภพ นี่กลับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะปรกติที่กาแล็คจะรวมตัวกัน
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
กาแล็คซี่ขนาดใหญ่อย่างทางช้างเผือก หรือแอนโดรมีด้า ก็เกิดจากการรวมของกาแล็คซี่ขนาดเล็กเข้ามานับไม่ถ้วน
การชนกันของกาแลคซี่ เป็นแค่การรวมตัวกันของแรงและโมเมนตัมเชิงมุม
มันไม่ใช่ความหายนะหรือการทลายลง โอกาสที่ดาวแต่ละดวงจะชนกันนั้น
น้อยจนไม่มีนัยสำคัญ การรวมกันมันจึงออกจะเป็นการรวมเพื่อกำเนิดใหม่ขึ้นมากกว่า ท้ายสุดแล้ว
อีก 4000 ล้านปีให้หลัง เมื่อกาแล็คซี่แอนโดรมีด้ารวมเข้ากับกาแลคซี่ทางช้างเผือก
ไม่ว่า ระบบสุริยะของเรา จะถูกรวมเข้ากับกาแล็คซี่ใหม่ หรือถูกเหวี่ยงออกไปข้างนอก
(ซึ่งเป็นไปได้น้อยกว่า แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงภายในใดๆกับระบบสุริยะของเรา)
ภายในเวลา 500 ล้านปีจากนี้ อุณหภูมิพื้นผิวของโลกก็จะสูงเกินกว่าที่จะมีสิ่งมีชีวิตใดๆอาศัยได้อยู่ดี[5]
และเราคงไม่มีความจำเป็นต้องกังวลใดๆกับชั่วชีวิตของมนุษยชาติที่แสนสั้นเมื่อเทียบกับอายุขัยของกาแลคซี่และดวงดาว
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น