หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สลิ่ม??

เดี๋ยวนี้ไปไหนมาไหนถ้าอยู่เฉียดใกล้วงเสื้อแดงก็จะต้องมีคำว่าสลิ่ม สลิ่มโน่น สลิ่มนี่ บ๊ะ ไปๆมาๆก็มีสลิ่มเสื้อแดง สลิ่มปริ่มน้ำ สารพัดคำจะสรรหา เรามารู้จักกันสักนิด คำว่าสลิ่มมีที่มาอย่างไร



การจะรู้จักคำว่า “สลิ่ม” เราต้องรู้กันก่อนว่า เสื้อแดงนั้นมีอยู่ 2 พวก พวกแรกคือแดง นปช หรือที่เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับฝั่งทักษิณ และชูธงประชานิยมเป็นหลัก สื่อในกลุ่มนี้คือพวก Red News ที่ตอแหลไปวันๆ พวกที่สองคือแดงสยาม เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ “คนเดือนตุลา” ที่โหยหาประชาธิปไตยแบบอุดมคติ สื่อในกลุ่มนี้คือประชาไท ที่มีคลาสกว่าหน่อย มีการให้อ้างอิงที่มา และป้องกันการแถอยู่พอสมควร

สลิ่มในนิยามปัจจุบันตามอ้างอิงของเวบ “พจนานุกรมศัพท์การเมืองร่วมสมัย” จะให้นิยามไว้ว่า[1]



เวบ ดังกล่าวบ่งชี้ว่า คำๆนี้ ใช้ในความหมายนี้ครั้งแรกโดย คำ ผกา ในราวปี ๒๕๕๓ ซึ่งเมื่อสอบค้นดูด้วยการจำกัดช่วงเวลา พบว่า นิยามโดยคำผกานี้ น่าจะเกิดขึ้นชัดเจนเพียงประมาณต้นปี 2554 มากกว่า คำๆนี้ มีการใช้งานมาก่อนหน้านั้น ในคนละบริบทกันเลยทีเดียว


ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2553 สลิ่มถูกใช้ในความหมายที่บ่งชี้ถึงเสื้อหลากสี ว่า ม๊อบสลิ่ม โดยกลุ่มเสื้อเหลืองเปลี่ยนสี จะเรียกว่าม๊อบกิ้งก่าเปลี่ยนสี[2] พฤติกรรมโดยรวมของคนที่ถูกเรียกว่าสลิ่ม ในช่วงนั้นก็จะบ่งชี้ถึงลักษณะของกลุ่มชนที่มีการศึกษา มีความรู้ทางการเมือง รักในหลวง เห็นใจเสื้อแดง พร้อมให้อภัย และ “ไม่เอาทักษิณ”[3] ซึ่งก็คือลักษณะของกลุ่มเสื้อหลากสีนี่เอง
และที่เรียกว่าสลิ่ม ตัวต้นนั้นแฝงนัยหมายถึง จะสีอะไรๆก็เชื่อมด้วยน้ำกะทิ หรือสนธิ ลิ้มทองกุล[4]

คำผกา ได้พยายามปรับปรุงคำว่า “สลิ่ม” ให้มีความชอบธรรมมากขึ้น โดยการพยายามตัดโยงตัวตนของ “ทักษิณ ชินวัตร” ออกจากนิยามสลิ่ม ให้มีลักษณะของการเป็นกลุ่มบุคคล “ซึนเดเระ” หรือปากอย่างทำอย่าง ด้วยนิยามของ คำผกา คำว่า “สลิ่ม” จึงอาจถูกใช้กับพวกเสื้อแดงที่ถูกจูงจมูก ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง นายใหญ่โฟนอินอะไรมาก็เฮโลตามทั้งๆที่ก่อนโฟนอินแกนนำเพิ่งบอกจะให้ไปเผาศาลแท้ๆ และเป็นที่มาของคำว่า “สลิ่มเสื้อแดง” [5] ในนิยามนี้ สลิ่ม มีลักษณะคล้ายคำว่า “กลางกลวง” ที่ สนธิ ลิ้มทองกุล ประณามกลุ่มคณาจารย์จุฬาที่แยกทางกับ พธม เมื่อตอนช่วงการยึดสนามบิน

แต่คำว่า “สลิ่ม” ตามแบบคำผกา หรือ “พจนานุกรมศัพท์การเมืองร่วมสมัย” ก็ยังถูกใช้เฉพาะในกลุ่มแดงสยามเท่านั้น ในกลุ่มแดง นปช คำว่า “สลิ่ม” ก็ยังใช้ในบริบทเดิม และขยายความไปถึงใครก็ตามที่แตกต่างทางความคิดจากเขา เช่น แม้แต่ “จ่าพิชิต” ก็เคยถูกเรียกเป็นสลิ่ม[6] เมื่อเขาวิจารณ์การทำงานของฝั่ง ทักษิณ หรือ ยิ่งลักษณ์ ที่เอาอยู่กับน้ำท่วม แม้ว่าส่วนใหญ่ “จ่าพิชิต” เองจะถลุงอยู่กับ ปชป และถูกมองเป็นฝั่งเสื้อแดง ปัญหาการใช้คำว่า “สลิ่ม” ในระดับปัญญาชนของแดงสยาม ก็มีการสังเกตว่าตัวเองคุมคำๆนี้ไว้ไม่อยู่ และมีความพยายามที่จะหยุดการใช้คำว่า “สลิ่ม” อย่างเกินเลย [7] เพราะ การเมืองไม่สามารถชนะได้ ถ้าไม่เพิ่มจำนวนผู้สนับสนุน แล้วเอาแต่ผลักคนเห็นต่างออกไป แต่อย่างไรก็ตาม “สลิ่ม” ก็ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน ภายใต้บริบทดั้งเดิมของเสื้อหลากสี น้ำกะทิ ภายใต้ลัทธิ “แตกต่างต้องตาย”

ความหมายจริงๆของการถูกเรียกว่าเป็น “สลิ่ม” จึงไม่ได้มีความหมายเชิงนัยอะไรเลยนอกจากว่า “มึงอยู่คนละฝั่งกับกู” และผลักคนที่เห็นต่างไปเป็นฝั่งตรงข้าม ก็แค่นั้น

ที่สุดแล้ว ในประเทศไทย ถ้าเราไม่แดง ก็ต้องเป็นเหลือง ไม่ก็สมุนปชป สมุนนิติราษฎร์ ถ้าคิดต่างก็ถูกไล่ไปเป็นกลางกลวงบ้าง ไปเป็นสลิ่มบ้าง คนที่ถูกเรียกว่าเป็นทั้ง “สลิ่ม” และ “กลางกลวง” บางทีนั้นอาจเป็นกลุ่มคนประเภทเดียวที่ยังมีสติและวิจารณญาณเป็นของตัวเองถึงจะยังมีการเห็นต่างเวลาฝั่งของตัวเองทำอะไรไม่เข้าท่าออกมา ดังนั้นแล้ว คนที่เป็น “สลิ่มกลางกลวง” จึงเป็นคนที่น่าจะภูมิใจในตัวเองได้นิดๆว่า อย่างน้อยสมองของตูก็ยังอยู่ในกระโหลกตัวเอง ไม่ได้ถูกช่วงชิงไปเป็นของแกนนำศาสดาเทพเทวาหลายๆตนทั้งในและนอกสารฃัณฑ์

วันนี้ คุณเป็น “สลิ่มกลางกลวง” แล้วหรือยัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น